หมวดที่ ๑ การศึกษาพระธรรมวินัยเบื้องต้น
วินัยเบื้องต้นสำหรับพระใหม่
วินัย คือ สิ่งที่มนุษย์บัญญัติขึ้น เพื่อเป็นกฎระเบียบข้อปฏิบัติ ตามจุดหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง วินัยที่พระศาสดาบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมหมู่คณะหรือเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นของจำกัดเวลาและสถานที่และเฉพาะยุค และเฉพาะสมัยและเปลี่ยนแปลงได้ตามเหตุการณ์ (หลวงพ่อพุทธทาส)
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วินัย คือ กฎหมายหรือขนบธรรมเนียมของพระภิกษุผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นข้อปฏิบัติทางจิตใจ วินัยมีเหตุที่จะทำให้ฟั่นเฝือ ๒ ทาง
๑. ผู้ไม่เคร่งไม่มีแก่ใจปฏิบัติ
๒. ยังผู้เคร่งให้ถืองมงาย
สาเหตุการบัญญัติวินัย
วินัย นั้นบางอย่างเมื่อไม่ได้บัญญัติขึ้นก็ยังไม่มี หรือกลายเป็นไม่ต้องทำ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยขึ้นมาภายหลัง เมื่อมีผู้ประพฤติผิด หรือประพฤติไม่เหมาะสม เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำอีกภายหลัง
อนุศาสน์ ๘ อย่าง
นิสสัย ๔
ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต เรียกว่า นิสสัย มี ๔ อย่าง คือ
๑. เที่ยวบิณฑบาต
๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
๓. อยู่โคนไม้
๔. ฉันยาดองด้วย น้ำมูตรเน่า
อกรณียกิจ ๔
กิจที่ไม่ควรทำ เรียกว่า อกรณียกิจ มี ๔ อย่าง คือ
๑. เสพเมถุน (การร่วมเพศกับมนุษย์หรืออมนุษย์)
๒. ลักของเขา ๓. ฆ่าสัตว์ ๔. พูดอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน
กิจ ๔ อย่างนี้ บรรพชิตทำไม่ได้ ถ้าทำขาดจากภาวะความเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถเข้าในสังฆกรรมได้
สิกขาของภิกษุ
มี ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา.
ความสำรวมกายวาจาให้เรียบร้อย ชื่อว่า ศีล.
ความรักษาใจมั่น ชื่อว่าสมาธิ.
ความรอบรู้ในกองสังขาร ชื่อว่าปัญญา.
อาบัติ
คือ โทษที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม โดยต้นเค้าแบ่งเป็น ๒ ข้อ
๑. อเตกิจฉาบัติ เป็นอาบัติทีแก้ไข้ไม่ได้ เรียกโดยชื่อว่า ปาราชิก ต้องเข้าแล้วเป็นขาดจากการเป็นภิกษุไม่มีการสังวาสกับสงฆ์อีก
๒. สเตกิจฉาบัติ เป็นอาบัติที่ยังแก้ไข้ได้ แจกออกไปเป็น ๒ ข้อ
๒.๑. ครุกาบัติ เป็นอาบัติหนัก เรียกว่าโดยชื่อว่า สังฆาทิเสส มีวิธิปลดเปลื้องสำเร็จด้วยสงฆ์
๒.๒. ลหุกาบัติ เป็นอาบัติเบา ต่างโดยชื่อว่า ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑
ทุพภาสิต ๑ ความหนักเบากันลงโดยลำดับ มีวิธีเปลื้องด้วยการแสดง คือเปิดเผยแก่ภิกษุอื่นแม้เพียงรูปเดียวก็ได้
เหตุหรืออาการที่ภิกษุจะต้องอาบัติ
มี ๖ อย่าง คือ
๑. ต้องด้วยไม่ละอาย
๒.ต้องด้วยไม่รู้ว่าสิ่งนี้จะเป็นอาบัติ
๓. ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลง
๔. ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
๕. ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ ควร
๖. ต้องด้วยลืมสติ
สาระสำคัญของพระวินัย
ข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ซึ่งยกขึ้นเป็นสิกขาบท ที่มาในพระปาติโมกข์ ๑ ไม่ได้มาในพระปาติโมกข์ ๑. สิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์นั้น คือ ปาราชิก ๔ สังฆาทิเสส ๑๓ อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ปาจิตตีย์ ๙๒ ปาฏิเทสนียะ ๔ เสขิยะ ๗๕ รวมเป็น ๒๒๐ นับทั้งอธิกรณสมถะด้วยเป็น ๒๒๗.
ปาราชิก ๔
๑. เสพเมถุน (คือ ร่วมเพศกับมนุษย์และอมนุษย์) ต้องปาราชิก.
๒. ภิกษุถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ได้ราคา ๕ มาสก ต้องปาราชิก.
๓. ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตาย ต้องปาราชิก.
๔. ภิกษุอวดอุตตริมนุสสธรรม ( คือธรรมอันยิ่งของมนุษย์ ) ที่ไม่มีในตน ต้องปาราชิก.
สังฆาทิเสส ๑๓
๑. ภิกษุแกล้งทำให้น้ำอสุจิเคลื่อน ต้องสังฆาทิเสส.
๒. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ จับต้องกายหญิง ต้องสังฆาทิเสส.
๓. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดเกี้ยวหญิง ต้องสังฆาทิเสส.
๔. ภิกษุมีความกำหนัดอยู่ พูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ต้องสังฆาทิเสส.
๕. ภิกษุชักสื่อให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน ต้องสังฆาทิเสส.
๖. ภิกษุสร้างกุฎีที่ต้องก่อและโบกด้วยปูนหรือดิน ซึ่งไม่มีใคร เป็นเจ้าของ จำเพาะเป็นที่อยู่ของตน ต้องทำให้ได้ประมาณ โดยยาว เพียง ๑๒ คืบพระสุคต โดยกว้างเพียง ๗ คืบ วัดในร่วมใน และ ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ให้ก็ดี ทำให้เกินประมาณ ก็ดี ต้องสังฆาทิเสส.
๗. ถ้าที่อยู่ซึ่งจะสร้างขึ้นนั้น มีทายกเป็นเจ้าของ ทำให้เกิน ประมาณนั้นได้ แต่ต้องให้สงฆ์แสดงที่ให้ก่อน ถ้าไม่ให้สงฆ์แสดงที่ ให้ก่อน ต้องสังฆาทิเสส.
๘. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล ต้องสังฆาทิเสส.
๙. ภิกษุโกรธเคือง แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก ต้องสังฆาทิเสส.
๑๐. ภิกษุพากเพียรเพื่อจะทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ภิกษุอื่นห้าม ไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้อง สังฆาทิเสส
๑๑. ภิกษุประพฤติตามภิกษุผู้ทำลายสงฆ์นั้น ภิกษุอื่นห้าม ไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้อง สังฆาทิเสส.
๑๒. ภิกษุว่ายากสอนยาก ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรม เพื่อจะให้ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
๑๓. ภิกษุประทุษร้ายตระกูล คือประจบคฤหัสถ์ สงฆ์ไล่เสียจาก วัด กลับว่าติเตียนสงฆ์ ภิกษุอื่นห้ามไม่ฟัง สงฆ์สวดกรรมเพื่อจะให้ ละข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าไม่ละ ต้องสังฆาทิเสส.
อนิยต ๒
๑. ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้ มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๓ อย่าง คือ ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่า
จำเพาะธรรมอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น.
๒. ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง ถ้ามีคนที่ควรเชื่อได้ มาพูดขึ้นด้วยธรรม ๒ อย่าง คือ สังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ อย่างใด อย่างหนึ่ง ภิกษุรับอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น หรือเขาว่าจำเพาะ ธรรมอย่างใด ให้ปรับอย่างนั้น. (ศึกษาเพิ่มเติมในหนังสือนวโกวาท)
เสขิยวัตร
วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษาเรียกว่าเสขิยวัตร เสขิยวัตรนั้น จัดเป็น ๔ หมวด หมวดที่ ๑ เรียกว่าสารูป หมวดที่ ๒ เรียกว่าโภชนะปฏิสังยุต หมวดที่ ๓ เรียกว่าธัมมเทสนาปฏิสังยุต หมวดที่ ๔ เรียก ปกิณณกะ.
สารูปที่ ๑ มี ๒๖
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจัก นุ่ง ให้เรียบร้อย.
๒. ห่ม
๓. ฯ ล ฯ เราจักปิดกายด้วยดี ไป ในบ้าน.
๔. นั่ง
๕. ฯ ล ฯ เราจักระวังมือเท้าด้วยดี ไป ในบ้าน.
๖. นั่ง ในบ้าน
๗. ฯ ล ฯ เราจักมีตาทอดลง ไป ในบ้าน.
๘. นั่ง
๙. ฯ ล ฯ เราจักไม่เวิกผ้า ไป ในบ้าน.
๑๐. นั่ง
๑๑. ฯ ล ฯ เราจักไม่หัวเราะ ไป ในบ้าน.
๑๒. นั่ง
๑๓. ฯ ล ฯ เราจักไม่พูดเสียงดัง ไป ในบ้าน.
๑๔. นั่ง
๑๕. ฯ ล ฯ เราจักไม่โคลงกาย ไป ในบ้าน.
๑๖. นั่ง
๑๗. ฯ ล ฯ เราจักไม่ไกวแขน ไป ในบ้าน.
๑๘. นั่ง
๑๙. ฯ ล ฯ เราจักไม่สั่นศีรษะ ไป ในบ้าน.
๒๐ นั่ง
๒๑. ฯ ล ฯ เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไป ในบ้าน.
๒๒. นั่ง
๒๓. ฯ ล ฯ เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไป ในบ้าน.
๒๔. นั่ง
๒๕. ฯ ล ฯ เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้าไปในบ้าน.
๒๖. ฯ ล ฯ เราจักไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน.
โภชนปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๓๐
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ.
๒. ฯ ล ฯ เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๓. ฯ ล ฯ เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก.
๔. ฯ ล ฯ เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร.
๕. ฯ ล ฯ เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ.
๖. ฯ ล ฯ เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร.
๗. ฯ ล ฯ เราจักไม่ขุดข้าวสุกให้แหว่ง.
๘. ฯ ล ฯ เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก.
๙. ฯ ล ฯ เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอกลงไป.
๑๐. ฯ ล ฯ เราจักไม่กลบแกงหรือกับข้าวด้วยข้าวสุก เพราะ อยากจะได้มาก.
๑๑. ฯ ล ฯ เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุก เพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉัน.
๑๒. ฯ ล ฯ เราจักไม่ดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ.
๑๓. ฯ ล ฯ เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก.
๒๔. ฯ ล ฯ เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม.
๑๕. ฯ ล ฯ เมื่อคำข้าวยังไม่ถึงปาก เราจักไม่อ้าปากไว้ท่า.
๑๖. ฯ ล ฯ เมื่อฉันอยู่ เราจักไม่เอานิ้วมือสอดเข้าปาก.
๑๗. ฯ ล ฯ เมื่อข้าวอยู่ในปาก เราจักไม่พูด.
๑๘. ฯ ล ฯ เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก.
๑๙. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว.
๒๐. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้วให้ตุ่ย.
๒๑. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง.
๒๒. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่ นั้น ๆ.
๒๓. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันแลบลิ้น.
๒๔. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ.
๒๕. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันดังซูด ๆ.
๒๖. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันเลียมือ.
๒๗. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันขอดบาตร.
๒๘. ฯ ล ฯ เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก.
๒๙. ฯ ล ฯ เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ.
๓๐. ฯ ล ฯ เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน.
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตที่ ๓ มี ๑๖
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็น ไข้ มีร่มในมือ.
๒. ฯ ล ฯ มีไม้พลองในมือ.
๓. ฯ ล ฯ มีศัสตราในมือ.
๔. ฯ ล ฯ มีอาวุธในมือ.
๕. ฯ ล ฯ สวมเขียงเท้า.
๖. ฯ ล ฯ สวมรองเท้า.
๗. ฯ ล ฯ ไปในยาน.
๘. ฯ ล ฯ อยู่บนที่นอน.
๙. ฯ ล ฯ นั่งรัดเข่า.
๑๐. ฯ ล ฯ พันศีรษะ.
๑๑. ฯ ล ฯ คลุมศีรษะ.
๑๒. ฯ ล ฯ เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้นั่งบนอาสนะ.
๑๓. ฯ ล ฯ เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่ เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง.
๑๔. ฯ ล ฯ เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่.
๑๕. ฯ ล ฯ เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้. ผู้เดินไปข้างหน้า.
๑๖. ฯ ล ฯ เราเดินไปนอกทาง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ ผู้ไปในทาง.
ปกิณณกะที่ ๔ มี ๓
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ.
๒. ฯ ล ฯ เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วนเขฬะ ลงในของเขียว.
๓. ฯ ล ฯ เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ถ่ายปัสสาวะ บ้วน เขฬะ ลงในน้ำ.
อธิกรณ์มี ๔
๑. ความเถียงกันว่า สิ่งนั้นเป็นธรรมเป็นวินัย สิ่งนี้ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย เรียกวิวาทาธิกรณ์.
๒. ความโจทกันด้วยอาบัตินั้น ๆ เรียกอนุวาทาธิกรณ์.
๓. อาบัติทั้งปวง เรียกอาปัตตาธิกรณ์.
๔. กิจที่สงฆ์จะพึงทำ เรียกกิจจาธิกรณ์.
อธิกรณสมถะมี ๗
ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น เรียกอธิกรณสมถะ มี ๗ อย่าง คือ :-
๑. ความระงับอธิกรณ์ทั้ง ๔ นั้น ในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ในที่ พร้อมหน้าบุคคล ในที่พร้อมหน้าวัตถุ ในที่พร้อมหน้าธรรม เรียก สัมมุขาวินัย.
๒. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่พระอรหันต์ว่า เป็นผู้มี สติเต็มที่ เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติ เรียกสติวินัย.
๓. ความที่สงฆ์สวดประกาศให้สมมติแก่ภิกษุ ผู้หายเป็นบ้าแล้ว เพื่อจะไม่ให้ใครโจทด้วยอาบัติที่เธอทำในเวลาเป็นบ้า เรียกอมูฬหวินัย.
๔. ความปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์ เรียก ปฏิญญาตกรณะ.
๕. ความตัดสินเอาตามคำของคนมากเป็นประมาณ เรียก เยภุยยสิกา.
๖. ความลงโทษแก่ผู้ผิด เรียกตัสสปาปิยสิกา.
๗. ความให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระความเดิม เรียกติณวัตถารกวินัย. สิกขาบทนอกนี้ ที่ยกขึ้นเป็นอาบัติถุลลัจจัยบ้าง ทุกกฏบ้าง ทุพภาสิตบ้าง เป็นสิกขาบทไม่ได้มาในพระปาติโมกข์.
จบวินัยบัญญัติ.
การฉัน หรือ การรับประทานอาหารไม่เพียงแต่เพื่อให้อิ่มท้องเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเวลาที่สมาชิกในบ้านในครอบครัว หรือองค์กรเพื่อนสนิทมิตรสหายได้อยู่พร้อมหน้ากัน จึงควรมีข้อควรสนใจ ดังนี้
• ในการร่วมรับประทานอาหารกับผู้อื่น ควรรักษาจังหวะและความเร็วในการอิ่มให้พร้อมเพรียง
หรือใกล้เคียงกันกับเพื่อน ๆ ร่วมโต๊ะ(หรือร่วมวง)
• เวลารับประทานอาหารไม่ควรสร้างความรำคาญและรบกวนผู้อื่น
• ต้องมีมารยาทขณะรับประทานอาหาร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทเกี่ยวกับการฉันภัตตาหารไว้เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้ถือปฏิบัติ เป็นธรรมเนียมและแบบแผนอันเดียวกัน เพื่อยังศรัทธาของผู้ศรัทธาอยู่ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น และปลูกศรัทธาของผู้ยังไม่ศรัทธาให้งอกงามขึ้นซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับมารยาทการรับประทานอาหารในปัจจุบัน ได้เป็นอย่างดี ดังมีรายละเอียดจากพุทธบัญญัติ ดังต่อไปนี้
การรับบิณฑบาต (การรับอาหาร)
๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่ควรแสดงอาการรังเกียจใน อาหารที่รับมา รับด้วยอาการที่ยินดีเต็มใจ ไม่ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ
๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เมื่อรับบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตร ไม่ควรเหลียวซ้ายแลขวาขณะรับอาหารหรือขณะตักอาหารมารับประทาน
๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก (ไม่รับกับข้าวมากไป)ไม่ควรตักแต่กับข้าวที่ตนเองชอบ โดยไม่เปิดโอกาสให้เพื่อนร่วมวงอาหารได้ตักเลย
๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร ไม่ควรตักอาหารใส่จานตนเองจนล้นหกเลอะเทอะ ควรตักแต่พอประมาณ
การฉันบิณฑบาต (การรับประทาน)
๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่ควรทำอาการรังเกียจอาหารที่ไม่ชอบควรรับประทานด้วยท่าทีสงบเพื่อรักษาศรัทธาของเจ้าภาพ
๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เมื่อฉันบิณฑบาต เราจักแลดูแต่ในบาตรขณะรับประทานควรมีอาการสำรวม ไม่ควรมองคนโน้นคนนี้หรือมองทั่วบริเวณ
๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า การนำไปใช้ เราจักไม่ตักข้าวสุกให้แหว่งตรงกลาง(ฉันไปตามลำดับ)ตักข้าวไม่ให้เลอะขอบจาน
๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักฉันแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก(ไม่ฉันกับข้าวมากไป)ไม่ควรเลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ตนเอง ชอบและตักกับข้าวมากเกินไปจนคนอื่นไม่ได้ รับประทาน
๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ขยุ้มข้าวสุกแต่ยอดลงไป เมื่อรับประทานควรตะล่อมและเกลี่ยข้าวในจานของตนเองให้เรียบร้อยตลอดเวลา ไม่เลอะเทอะทั่วจาน
๑๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่าเราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับข้าวด้วยหวังได้มาก
๑๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้เราไม่เจ็บไข้จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉันไม่ควรเลือกรับประทานอาหารอร่อยๆ หรือราคา แพง ๆ เท่านั้น หรือร้องขออาหารที่ชอบใจจากเจ้า ภาพโดยขาดความเกรงใจ
๑๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ ขณะรับประทานอาหารไม่ควรมองดูจานอาหาร ของผู้อื่นอาจเป็นเหตุนำมาซึ่งการอิจฉาริษยาได้
๑๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไปไม่ควรตักอาหารจนพูนช้อน จะทำให้ต้องอ้าปากกว้าง เมื่อจะรับประทาน ทำให้เคี้ยวไม่ละเอียด
๑๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อมควรตักอาหารแล้วตะล่อมให้เรียบร้อย ไม่ให้ล้นช้อนจนหกเรี่ยราด
๑๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่อ้าปากไว้รอท่า ในเมื่อคำข้าวยังไม่ถึง ปาก
๑๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่เอานิ้วสอดเข้าปากในขณะฉัน ในกรณีที่ต้องแคะเศษอาหารที่ติดฟัน ควรใช้ไม้ จิ้มฟัน โดยมีผ้าหรือมือปิดบังด้วย
๑๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่พูด ทั้งที่ยังมีคำข้าวอยู่ในปาก ไม่ควรพูดคุยเสียงดัง ขณะเคี้ยวอาหารอยู่ ไม่ควร ตักอาหารใส่ปากอีก ขณะยังมีคำข้าวในปากอยู่
๑๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่โยนคำข้าวเข้าปาก อาหารที่เป็นเม็ด ๆ ก้อน ๆ เช่น ถั่ว ขนม ลูกอม ไม่ควรโยนเข้าปาก เพื่อรับประทาน
๑๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว อาหารที่เป็นชิ้นใหญ่เกินคำ ควรใช้ช้อนหรือส้อม ตักให้พอดีคำรับประทาน หากเป็นอาหารประเภทปิ้งด้วยไม้ ก่อนรับประทานควรนำอาหารออกจาก ไม้ก่อนแล้วใช้ส้อมหรือช้อนตักรับประทาน
๒๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย ไม่ควรทำคำข้าวให้ใหญ่ หากเป็นผลไม้ชิ้นใหญ่ ๆ ควรตัดให้พอดีคำ
๒๑. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง ไม่ควรสะบัดมือหรือช้อมส้อมที่มีเศษอาหารติดอย ู่เพราะจะทำให้กระเด็นถูกผู้อื่นเลอะเทอะ
๒๒. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าวให้ตกลงในบาตรหรือในที่นั้นๆ ไม่ควรรับประทานให้เมล็ดข้าวหรืออาหารตกเรี่ยราดลงบนพื้น
๒๓. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้เราจักไม่ฉันแลบลิ้น ไม่ควรแลบลิ้นเลียอาหาร
๒๔. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันดังจับ ๆ ไม่ควรอ้าปากกว้างขณะเคี้ยวอาหารเพราะจะทำให้เกิดเสียงดังขณะเคี้ยว หากเป็นอาหารแห้ง กรอบควรอมไว้ในปากสักครู่ ให้อ่อนนุ่มจึงค่อยเคี้ยว
๒๕. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันดังซูด ๆการรับประทานอาหารที่เป็นน้ำหรืออาหารประเภทเส้นไม่ควรซดเสียงดัง หากอาหารนั้นร้อนอยู่ควร รับประทานทีละน้อย หรือรอให้ความร้อนลดลงจึง ค่อยรับประทาน
๒๖. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันเลียมือไม่ควรเลียมือหรือเลียช้อนส้อม มีด ตะเกียบ ขณะรับประทานหากเศษอาหารติดควรเช็ดด้วยกระดาษ
๒๗. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้เราจักไม่ฉัน(ขอดบาตร)เลียบาตร ไม่ควรขูดจานหรือชามที่ใส่อาหารรับประทาน จะทำให้เกิดเสียงดัง ก่อนรับประทานอาหาร ควรตักน้ำแกงราดรอบ ๆจาน เพื่อให้เมล็ดข้าวชุ่มด้วยน้ำ แกงจะได้ไม่ติดจาน และช้อนส้อม
๒๘. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปากไม่ควรเลียริมฝีปาก หากมีเศษอาหารติด ควรใช้กระดาษทิชชูเช็ดปาก หรือผ้าเช็ดออก
๒๙. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะใส่น้ำไม่ควรใช้มือที่เปื้อนเศษอาหารจับแก้วน้ำ เพราะอาจเกิดความมันแก้วน้ำ เป็นเหตุให้ล้างออกยาก และแก้วน้ำอาจลื่นหล่นตกแตกได้
การล้างบาตร (การล้างภาชนะใส่อาหาร)
๓๐. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า
การนำไปใช้ เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้าน ควรรับประทานให้หมดอย่าให้เหลือทิ้ง และเช็ดจานให้เรียบร้อย ไม่มีคราบมันหรือเศษอาหารติดอยู่ จะทำให้สะดวกต่อการนำไปล้าง ส่วนเศษอาหารควรห่อด้วยกระดาษให้เรียบร้อย แล้วนำไปทิ้งถังขยะ รู้
มารยาทในการดื่มน้ำ มีระเบียบวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้
๑. การรินน้ำ ไม่ควรให้เกิดเสียงดัง โดยเอียงแก้วให้น้ำที่รินจากเหยือกหรือภาชนะอื่นไหลตามผนังแก้ว
ลงสู่ก้นแก้วขณะรินน้ำ
๒. ไม่ควรยืนดื่มน้ำ
๓. ฝึกดื่มน้ำไม่ให้เกิดเสียงดัง โดยดื่มช้า ๆ ค่อย ๆ ดื่มทีละน้อย ๆ
การปลงอาบัติ
(สำหรับอาบัติอย่างเบา คือ ถุลลัจจัย, ปาจิตตีย์, ปาฏิเสสนีย, ทุกกฎ, ทุพภาสิต)
การปลงอาบัติ หมายถึงการแสดงความผิดหรือประจานตน และสารภาพความผิดของตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน ว่าต่อแต่นี้ไปจะไม่กระทำกรรมนั้นอีก
สำหรับพระภิกษุที่มีพรรษาอ่อนกล่าว
พระพรรษาอ่อนกว่า พระพรรษาแก่กว่า
๑. สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน) ปัสสะสิ อาวุโส ตา อาปัตติโย
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน)
อะหัง ภันเต สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ.
๒. อุกาสะ อามะ ภันเต ปัสสามิ. อายะติง อาวุโส สังวะเรยยาสิ.
๓. สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ ภันเต สังวะริสสามิ.
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ.
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ.
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ. (เสร็จพิธี)
สำหรับพระภิกษุที่มีพรรษาแก่กล่าว
พระพรรษาแก่กว่า พระพรรษาอ่อนกว่า
๑. สัพพา ตา อาปัตติโย อาโรเจมิ (๓ หน): อุกาสะ ปัสสะถะ ภันเต ตา อาปัตติโย
สัพพา คะรุละหุกา อาปัตติโย อาโรเจมิ ( ๓ หน)
อะหัง อาวุโส สัมพะหุลา นานาวัตถุกาโย
อาปัตติโย อาปัชชิง ตา ตุมหะ มูเล ปะฏิเทเสมิ.
อามะ อาวุโส ปัสสามิ. อายะติง ภันเต สังวะเรยยาถ.
สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ
ทุติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ.
ตะติยัมปิ สาธุ สุฏฐุ อาวุโส สังวะริสสามิ.
นะ ปุเนวัง กะริสสามิ.
นะ ปุเนวัง ภาสิสสามิ.
นะ ปุเนวัง จินตะยิสสามิ. (เสร็จพิธี)
การทำพินทุผ้า
การทำพินทุผ้า หมายถึงการทำเครื่องหมาย ด้วยปากกา ทำเป็นจุด สามจุดที่ชายผ้า เพื่อเป็นเครื่องหมายสำหรับตน ไม่ให้เกิดความสบสนกัน เมื่ออยู่รวมกันหลายรูป ถ้าไม่ทำพินทุผ้าก่อนใช้ เป็นอาบัติด้วย
คำกล่าวพินทุผ้า “ อิมัง พินทุกัปปัง กะโรมิ.” แล้วกล่าวคำอธิษฐานใช้ต่อไป
คำอธิษฐานบริขาร
บาตร อธิษฐานว่า อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ.
สังฆาฏิ อธิษฐานว่า อิมัง สังฆาฏิง อะธิฏฐามิ.
จีวร อธิษฐานว่า อิมัง อุตตะราสังคัง อะธิฏฐามิ.
สงบ อธิษฐานว่า อิมัง อันตะระวาสะกัง อะธิฏฐามิ.
ผ้าอาบน้ำฝน อธิษฐานว่า อิมัง วัสสิกะสาฏิกัง อะธิฏฐามิ.
กิจวัตรสำหรับพระภิกษุ ๑๐ อย่าง
๑. ลงอุโบสถ ๖. อยู่ปริวาสกรรม
๒. บิณฑบาตเลี้ยงชีพ ๗. โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
๓. สวดมนต์ไหว้พระ ๘. ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติอาจารย์
๔. กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์ ๙. เทศนาบัติ
๕. รักษาผ้าครอง ๑๐. พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง ๔ เป็นต้น
เนื้อที่พระภิกษุสามเณรไม่ควรฉัน ๑๐ อย่าง
๑. เนื้อมนุษย์ ๖. เนื้อราชสีห์
๒. เนื้อช้าง ๗. เนื้อหมี
๓. เนื้อม้า ๘. เนื้อเสือโคร่ง
๔. เนื้อสุนัข ๙. เนื้อเสือดาว
๕. เนื้องู ๑๐. เนื้อเสือเหลือง
๖.
การลาสิกขา
ผู้บวชในสมัยโบราณเป็นผู้เบื่อต่อโลก จึงไม่มีการลาสิกขา ครั้นต่อมาการบวชได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นประเพณีแล้ว ผู้บวชไม่ประสงค์จะอยู่ก็ต้องลาสิกขา การลาสิกขาก็ต้องทำเป็นกิจจะลักษณะพิธีทำมีดังนี้
ผู้ประสงค์จะลาสิกขาเตรียมดอกไม้ ธูปเทียนไปทำวัตร พระอุปัชฌาย์อาจารย์เมื่อถึงวันกำหนดแล้วให้จัดสถานที่ นิมนต์พระสงฆ์มาพร้อมกันแล้ว พระภิกษุผู้จะลาสิกขาต้องแสดงอาบัติเสียก่อนแล้วว่า "นโม 3 จบ" ว่าอดีต "ปัจจเวกขณะ 1 จบ" คำลาสิกขาว่า
สิกขัง ปัจจักขามิ คีหิติ มัง ธาเรถะ
ข้าพเจ้าขอลาสิกขา ขอท่านทั้งหลายจงจดจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นคฤหัสถ์ ณ บัดนี้ (ว่า 3 จบ)
แล้วพระเถระจะชักผ้าสังฆาฏิออก จึงออกไปเปลื้องผ้าเหลือง ออกแล้วจึงนุ่งห่มผ้าขาวเข้ามากล่าว คำขอสรณคมณ์และศีล 5 แล้วกล่าวคำ ปฏิญาณตนเป็นพุทธมามะกะว่า "อะหัง พุทธัญจะ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ สะระณังคะโต สาธุ ภันเต ภิกขุสังโฆ พุทธมามโกติ มัง ธาเรถะ" พระสงฆ์นั่งอันดับรับสาธุพร้อมกัน แล้วผู้ลาสิกขากราบ 3 หน เสร็จแล้วผู้ลาสิกขานำเครื่องสักการะไปถวาย พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นเสร็จพิธี ส่วนการลาสิกขาของสามเณร ไม่มีคงอนุโลมตามอย่างพระภิกษุ
หมวดที่ ๒ พระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา หรือ พุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีคำสอนแนะนำแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดความสุข ลดความทุกข์ จนกระทั่งพ้นไปจากพันธนาการทั้งปวง เป็นอิสระอย่างแท้จริงด้วยความรู้แจ้ง เป็นศาสนาที่มีสรณะอันสูงสุดสามประการ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ อันมีชื่อเรียกรวมว่าพระรัตนตรัย (แก้วอันมีค่าทั้ง 3) โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระธรรม แล้วทรงสอนให้พระภิกษุรู้ธรรมจนหลุดพ้นตาม ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาและฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่าพระสงฆ์ (สงฆ์แปลว่าหมู่,ชุมนุม) แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรมเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลก
หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนาในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรจะเรียกว่า "พระธรรมวินัย" อันประกอบด้วย "พระธรรม" คือความรู้ในสัจธรรมต่างๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วนำมาแสดงแก่ชาวโลก กับ "พระวินัย" คือกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ทรงบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่ออกบวช เพื่อให้ผู้บวชสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีกฎเกณฑ์เป็นคณะสงฆ์ อันเป็นชุมชนตัวอย่างที่ดำเนินชีวิตเพื่อความพ้นทุกข์ โดยมีหมวดอภิธรรมไว้อธิบายคำจำกัดความของศัพท์ในหมวดพระธรรม และมีหมวดอภิวินัยไว้อธิบายคำจำกัดความคำศัพท์ในส่วนพระวินัย ในภายหลังเมื่อเริ่มมีการบันทึกคำสอนทั้งหลายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่าคัมภีร์พระธรรม และคัมภีร์พระวินัย พระเถระผู้ทรงคุณในยุคสมัยนั้นได้เรียบเรียงคำอธิบายในหมวดอภิธรรมเพิ่มเติมอย่างละเอียด จนสามารถบันทึกเป็นคัมภีร์ "พระอภิธรรม" ต่างหาก เมื่อรวมเรียกทั้งสามคัมภีร์แล้ว บันทึกหลักธรรมคำสอนทั้งหมดในศาสนาพุทธจึงเรียกว่า พระไตรปิฏก
พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในภูมิภาคที่เป็นประเทศอินเดียในปัจจุบัน ตั้งแต่เมื่อ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ใน ทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะมีผู้นับถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทย
ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษาและฝึกฝนตามคำสอนเพื่อความหลุดพ้นจะเรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ (ชาย) และ พระภิกษุณีสงฆ์ (หญิง) ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่าฆราวาส หรือ อุบาสก (ชาย) / อุบาสิกา (หญิง) โดยเมื่อรวมบุคคลสี่ประเภทคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะเรียกว่า พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้
หลักการสำคัญของพุทธศาสนา
• พุทธศาสนา สอน "สัจธรรม" คือความจริงแท้ของชีวิตและกฎธรรมชาติ โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการหลุดพ้นจากวงจรแห่งทุกข์ทั้งปวง
• หัวใจของพุทธศาสนาคือ "หมั่นทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์"
• พุทธศาสนา กล่าวว่าสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ต่างมีเหตุให้เกิด เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นผลก็เกิดขึ้นตาม เมื่อเหตุนั้นไม่มีอีกแล้วผลก็ดับไป
• อริยสัจ 4 สอนให้เข้าใจถึงหลักความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ (มีความยากลำบาก หรือ มองตัวปัญหา) สมุทัย (ความทุกข์นั้นมีสาเหตุให้เกิด หรือ มองสาเหตุของปัญหา) นิโรธ (ความหมดสิ้นแห่งทุกข์ หรือ มองจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา) มรรค (วิถีทางอันประเสริฐที่จะนำให้ถึงความดับทุกข์ หรือ ลงมือปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ๆ)
• สติปัฏฐาน 4 เป็นวิธีฝึกฝนกายและจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์ โดยเฉพาะเจาะจงแล้วหมายถึงมรรคองค์ที่ 7 คือสัมมาสติ แต่โดยกว้างแล้วหมายถึงหลักการฝึกฝนโดยรวมทั้งหมดเพื่อให้เกิดนิโรธ
• ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะสากลที่มีในทุกสิ่งดังนี้คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยงแท้ มีอันต้องแปรปรวนไป) ทุกขัง (ถูกบีบคั้นให้ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา) อนัตตา (ไม่มีแก่นสารอะไรให้ถือเอาเป็นตัวตนของใครๆ ได้อย่างแท้จริง)
• กฎแห่งกรรม กรรม คือการกระทำทุกอย่างทั้งทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาสั่งการโดยจิตของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าเป็นการกระทำที่ดี (บุญ/กุศล) หรือไม่ดี (บาป/อกุศล) หรือกลางๆ อันทำให้มีผลของการกระทำตามมา โดยผลของการกระทำจะไม่สูญหายไปไหน แต่รอเวลาที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการกระทำนั้นๆ สะท้อนกลับมาหาผู้กระทำเสมอ โดยไม่สามารถนำบุญกับบาปมาหักล้างกันได้โดยตรง กฎแห่งกรรมนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดความเป็นไปของแต่ละจิตวิญญาณในสังสารวัฏ
• นิพพาน คือสภาพที่พ้นออกไปเหนือโลก ออกไปจากสังสารวัฏ เป็นอิสระจากพันธนาการทุกอย่าง เป็นความสุขอันแท้จริง เป็นเป้าหมายอันสูงสุดที่พระพุทธศาสนาสอนให้บรรลุถึง
• พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์ ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ คือ เมตตา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นมีความสุข) กรุณา (ความปรารถนาอยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์) มุทิตา (ความยินดีที่ผู้อื่นมีความสุขในทางที่เป็นกุศล) อุเบกขา (การวางจิตเป็นกลาง การมีเมตตา กรุณา มุทิตา เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าตนไม่สามารถช่วยเหลือผู้นั้นได้ จิตตนจะเป็นทุกข์ ดังนั้น ตนจึงควรวางอุเบกขาทำวางใจให้เป็นกลาง และพิจารณาว่า สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรมที่ได้เคยกระทำไว้ จะดีหรือชั่วก็ตาม กรรมนั้นย่อมส่งผลอย่างยุติธรรมตามที่เขาผู้นั้นได้เคยกระทำไว้อย่างแน่นอน)
• สังสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิ คือมิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุดไปจนถึงสุขสบายที่สุด ที่รองรับการเกิดของสิ่งมีชีวิต การเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงยึดเอาว่าสิ่งต่างๆ มีตัวตน ซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว คือการดำเนินตามเส้นทางอริยมรรค
• สรุปหลักการปฏิบัติตามทางของพุทธศาสนาเป็นหลักใหญ่ จะมีอยู่ 3 ประการคือ
1. ละเว้นอกุศล (ความไม่ฉลาด) ทางกาย วาจา จิตใจ
2. หมั่นสร้างกุศล (ความฉลาด) ทางกาย วาจา จิตใจ
3. ฝึกจิตให้หลุดพ้น (จากความไม่รู้สัจจธรรม ที่พันธนาการจิตไว้)
อีกนัยหนึ่งเมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนคือ
1. ศีล (ฝึกกายและจิตให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น)
2. สมาธิ (ฝึกความตั้งมั่นของจิต จนเกิตสติรับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง)
3. ปัญญา (ให้จิตพิจารณาความเป็นจริง จนกระทั่งทำลายอวิชชาความไม่รู้ ได้ในที่สุด)
ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนานับเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุง และแก้ไขสังคมอินเดียในยุคนั้นให้ดีขึ้นจากสภาพการณ์หลายอย่าง เช่น จากการกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน การถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด การใช้สัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ ตลอดจนการกดขี่สตรี พุทธศาสนาจึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น
ศาสนาแห่งความรู้และความจริง
พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ และธรรมที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ 4 ก็เป็นความจริงอย่างแท้จริง ทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา
ศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ
พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ซึ่งต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้า ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ศาสนาอเทวนิยม
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่เชื่อว่าพระเจ้าดลบันดาลทุกสิ่ง ผู้สร้างทุกสิ่ง แม้กระทั่งโลก เพราะเหตุว่าพระพุทธศาสนาไม่เชื่อในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงเรียกว่าศาสนาอเทวนิยม คือ ศาสนาที่ไม่เชื่อในพระเจ้า
ศาสนาแห่งสันติภาพ
ในกระบวนการนักคิดของโลกศาสนา พุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ ให้เสรีภาพในการพิจารณาให้มีปัญญากำกับศรัทธา ในขณะที่หลายศาสนาแสดงว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะวิพากษ์วิจารณ์พระเจ้าไม่ได้
นิกาย
ศาสนาพุทธ แบ่งออกเป็นนิกายใหญ่ได้ 2 นิกายคือ เถรวาท หรือ หินยาน และ มหายาน นอกจากนี้แล้วยังมีการแบ่งที่แตกต่างออกไปและไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยคือ การแบ่งเป็น 3 นิกายคือ
• เถรวาท (Theravāda) หรือ หินยาน (Hinayāna-ยานเล็ก) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งคำสั่งสอน และ หลักปฏิบัติ จะเป็นไปตามพระไตรปิฎก (Tipitaka) แพร่หลายอยุ่ในประเทศไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา และ บางส่วนของประเทศเวียดนามส่วนมากเป็นชาวเขมร บังกลาเทศ และ มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวสยาม
• อาจาริยวาท (Ācāriyavāda) หรือ มหายาน (Mahāyāna-ยานใหญ่) แพร่หลายใน จีน ญี่ปุ่น มองโกเลีย ภูฏาน ไต้หวัน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้และ สิงคโปร์ และบางส่วนของ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซียส่วนมากเป็นชาวจีน เนปาล บรูไนส่วนมากเป็นชาวจีน ฟิลิปปินส์ส่วนมากเป็นชาวจีน อุซเบกิสถาน และ ทาจิกิสถาน
• วัชรยาน (Vajrayāna) หรือ มหายานพิเศษ ปัจจุบันมีใน อินเดียบริเวณลาดักในรัฐชัมมูและกัษมีร์ และในรัฐสิกขิม ประเทศเนปาล ภูฏาน ปากีสถาน มองโกเลีย และ เขตปกครองตนเองทิเบต
สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
วัด ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณร เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้า การทำวัตรเย็น อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และยังเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย
หมวดที่ ๓ พระไตรปิฎก
พระไตรปิฏก
ความหมายของพระไตรปิฎก
พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า
ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง
ปิฏก ๓ หรือพระไตรปิฏก (๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (หมวด) แบ่งออกเป็น
๑. พระวินัยปิฏก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์(หมวด)
๒. พระสุตตันตปิฏก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาทั่วไป มี ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (หมวด)
๓. พระอภิธรรมปิฏก ว่าด้วยธรรมล้วนๆ หรือธรรมสำคัญ มี ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ (หมวด)
ความสำคัญของพระไตรปิฎก
ก่อนปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสทำนองสั่งเสียกับพระอานนท์ว่า เมื่อพระองค์ปรินิพพานล่วงลับไปแล้ว จะไม่ทรงตั้งภิกษุรูปใดแทนพระองค์ หากแต่ให้ชาวพุทธทั้งหลายยึดพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์ ตามพระพุทธพจน์ว่า "โย โว อานนฺท มยาธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา" แปลว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมและวินัยใดที่เราได้แสดงแล้วและบัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมและวินัยนั้น เป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย โดยกาลที่เราล่วงลับไป
พระพุทธพจน์นี้แสดงให้เห็นว่า พระธรรมวินัย ถือเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงเท่ากับเป็นองค์พระศาสดาและเป็นตัวแทนพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัยทั้งหลายนั้นล้วนได้ประมวลอยู่ใน พระไตรปิฏก ทั้งสิ้น
อาจกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏก มีความสำคัญดังนี้ คือ
๑. เป็นที่รวบรวมไว้ซึ่งพระพุทธพจน์ คือคำสั่งของพระพุทธเจ้า
๒. เป็นที่สถิตของพระศาสดาของพุทธศาสนิกชน เราสามารถเฝ้าพระพุทธเจ้า หรือรู้จักพระพุทธเจ้าได้จากพระไตรปิฏก
๓. เป็นแหล่งต้นเดิมหรือแม่บทในพระพุทธศาสนา
๔. เป็นมาตรฐานตรวจสอบคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา คำสอนและข้อปฏิบัติใดๆ ที่จะถือว่าเป็นคำสอนและข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนาได้ จะต้องสอดคล้องกับพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏก
๕. เป็นคัมภีร์ที่ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ทางวิชาการ
หมวดที่ ๔ ฝึกการเป็นพิธีกรงานบุญต่างๆ
ศาสนพิธีเบื้องต้น
ศาสนพิธี หมายถึงพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เป็นประเพณี เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเป็นแบบเดียวกัน ก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา สนพิธีมีมากมาย แยกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆคือ
๑. หมวดกุศลพิธี ว่าด้วยการบำเพ็ญกุศล เช่นพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาอุโบสถ พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา พิธีเข้าพรรษา
๒. หมวดบุญพิธี ว่าด้วยพิธีทำบุญ คือทำบุญงานมงคล และทำบุญงานอวมงคล
๓. หมวดทานพิธี ว่าด้วยพิธีถวายทาน คือพิธีถวายทานแด่พระสงฆ์เช่นถวายภัตตาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยานพาหนะ มาลัยดอกไม้ เครื่องบูชาต่าง ๆ ของหอมคือธูปเทียนบูชาพระ กุฏิเสนาสนะ
๔. หมวดปกิณกะ ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ดคือพิธีเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ เช่นวิธีแสดงความเคารพพระ วิธีประเคนของพระ วิธีอาราธนาคืออาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาพระธรรม วิธีกรวดน้ำ วิธีตั้งโต๊ะหมู่บูชา เป็นต้น
ความสำคัญของศาสนพิธี
ศาสนสถานมีความสำคัญเพราะเป็นสถานที่ให้ความร่มเย็นเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจแก่ศาสนิกชน ให้มีแนวทางการดำเนินชีวิตที่ดี และเป็นประโยชน์ ศาสนพิธีจึงมีความสำคัญต่อศาสนาและศาสนิกชนด้วยเหตุผลดังนี้คือ
เพราะเป็นที่ยอมรับ และให้ความสำคัญของสังคมชาวพุทธจะขาดเสียมิได้
เพราะเป็นการแสดงอารมณ์ร่วมในการบำเพ็ญบุญของศาสนิกชน
เพราะเป็นบันไดขั้นแรกที่จะก้าวสู่ธรรมะขั้นสูงต่อไป
ส่งเสริมอำนาจหรือคุณค่าทางด้านจิตใจ
ธำรงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาติและศาสนา
ศาสนาเปรียบเหมือนต้นไม้ ศาสนพิธีเปรียบเสมือนเปลือกนอกของต้นไม้ ตลอดจน กิ่ง กะพี้ ใบ สะเก็ด หลักธรรมหรือสัจธรรม เปรียบเสมือนแก่นไม้ ทั้งเปลือกนอก กิ่ง ใบ สะเก็ด กะพี้ และแก่น ย่อมมีประโยชน์ต่อต้นไม้ทั้งสิ้น หากต้นไม้มีแต่แก่นไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ต้นไม้ก็จะอยู่ไม่ได้ ศาสนพิธีจึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของ ศาสนิกชนในรูปของพิธีต่าง ๆ และช่วยให้ผู้ที่ยังไม่มีศรัทธาค่อยๆ เข้าถึงแก่นของศาสนาตามกำลังสติปัญญา บารมี ความดีที่ค่อยๆสะสมเพิ่มพูนขึ้นจนมีศรัทธาแก่กล้าขึ้น จิตใจมั่นคง ในแนวทางปฏิบัติทางศาสนา ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม จนในที่สุดเข้าถึงสัจธรรมอันเป็นแก่นของศาสนาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการปฏิบัติเกี่ยวกับศาสนพิธี พึงเข้าใจว่าศาสนพิธีเป็นเพียงส่วนประกอบไม่ใช่ตัวหลักของศาสนา
การประกอบพิธีกรรมหรือศาสนพิธีควรคำนึงถึงหลัก ๔ ป. ได้แก่ ประหยัด ประโยชน์ ประเพณี และ(งบ) ประมาณ
วิธีแสดงความเคารพ
หมายความว่า พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพอย่างสูงสุดแก่พระรัตนตรัย อันได้แก่ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
การแสดงความเคารพพระรัตนตรัยใช้การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์เสมอ อิริยาบถในการกราบพระรัตนตรัยไว้ดังนี้
1. การประนมมือ (อัญชลี) คือการกระพุ่มมือทั้งสองให้ฝ่ามือประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดตรงกันทั้งสองมือ ตั้งกระพุ่มมือประนมไว้ระหว่างอกให้ตั้งตรงชี้ขึ้นข้างบนมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมแนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง การประนมมือในลักษณะ “อัญชลี” นี้ใช้แสดงความเคารพขณะสวดมนต์ ฟังพระสวดหรือฟังพระเทศน์ ทำเช่นเดียวกันทั้งหญิงและชาย
2. ไหว้ (วันทา) คือการยกมือที่ประนมขึ้นจรดหน้าผากพร้อมกับค้อมศีรษะลงเล็กน้อย การไหว้ใช้แสดงความเคารพพระในขณะนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ ทำเช่นเดียวกันทั้งหญิงและชาย
3. กราบ (อภิวาท) คือการนั่งคุกเข่ากับพื้นประนมมือไหว้แล้วหมอบลงกราบโดยทอดฝ่ามือทั้งสองลงแนบพื้น นิ้วทั้ง 5 ชิดกัน เว้นช่องว่างระหว่างฝ่ามือที่วางราบนั้นห่างกันประมาณ 4-5 นิ้ว ก้มศีรษะลงตรงช่องว่างนั้นให้หน้าผากจรดพื้น แล้วลุกขึ้นนั่งตัวตรง เรียกว่าการกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์
วิธีกราบพระแบบเบญจางคประดิษฐ์
กราบครั้งที่ 1 ระลึกว่า “พุทโธ เม นา โถ พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า”
กราบครั้งที่ 2 ระลึกว่า “ธัมโม เม นา โถ พระธรรมเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า”
กราบครั้งที่ 3 ระลึกว่า “สังโฆ เม นา โถ พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า”
การกราบแสดงความเคารพพระควรทำด้วยจังหวะการกราบที่พอควร ไม่เร็วเกินไป หรือช้าเกินไป เป็นการกราบอย่างผู้มีสติอยู่เสมอ ทำให้เกิดความสะอาด สงบ สว่างในใจ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลังต่อไป
ภาพประกอบการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์
๑ท่าที่๑ ท่าเทพบุตร(ชาย) ท่าเทพธิดา(หญิง)
๒ท่าที่ ๒ ท่าอัญชลี
๓ท่าที่ ๓ ท่าวันทา
๔ท่าที่ ๔ ท่าอภิวาท
วิธีตั้งโต๊ะหมู่บูชา
การตั้งโต๊ะหมู่บูชาเป็นการแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เป็นแบบแผนอันดีงาม เป็นประเพณีที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เป็นสมบัติอันล้ำค่า การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชา เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทยมาตั้งแต่รัฐสมัยของพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในปีพุทธศักราช 2391 เริ่มมีการจัดโต๊ะหมู่บูชาครั้งแรกในงานฉลองวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3
องค์ประกอบของโต๊ะหมู่บูชา
โต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด ประกอบด้วย
1. โต๊ะรอง
2. โต๊ะฐานรอง
3. เครื่องบูชา
โต๊ะรอง คือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและเครื่องบูชา เป็นโต๊ะหมู่สร้างไว้เป็นชุด แต่ละชุดเรียกว่าโต๊ะหมู่บูชา ที่มีใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ โต๊ะหมู่ 4 โต๊ะหมู่ 5 โต๊ะหมู่ 7 โต๊ะหมู่ 9 โต๊ะหมู่ 11 และโต๊ะหมู่ 15
โต๊ะหมู่บูชาที่นิยมใช้ในงานพิธีต่าง ๆ คือ โต๊ะหมู่ 5 โต๊ะหมู่ 7 และโต๊ะหมู่ 9 สำหรับงานพิธีของทางราชการจะนิยมโต๊ะหมู่ 9 มากที่สุด
โต๊ะฐานรอง คือฐานสำหรับตั้งโต๊ะรองแต่ละชุด โต๊ะฐานรองจึงเป็นโต๊ะตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโต๊ะหมู่บูชาชุดนั้น ๆ ในการจัดวางโต๊ะหมู่บูชา ถ้าเป็นในห้องประชุมสัมมนานิยมวางไว้มุมซ้ายด้านหน้าของห้องประชุม ถ้าเป็นการจัดวางโต๊ะหมู่บูชาในงานบำเพ็ญกุศลหรือจัดในบ้านเรือนนิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเพราะเป็นทิศที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ถ้าสถานที่ไม่เหมาะสมก็นิยมหันไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ทิศใดทิศหนึ่ง แต่ไม่นิยมหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเพราะถือว่าเป็นทิศแห่งความดับไม่เจริญรุ่งเรือง เพื่อความสะดวกในการจัดควรคัดแยกขนาดของโต๊ะก่อน
เครื่องประกอบของโต๊ะหมู่บูชา
1. ธูปและกระถางธูป
2. เทียนและเชิงเทียน
3. แจกัน
4. พานดอกไม้
นอกจากนี้มีของใช้ที่จำเป็นสำหรับใช้เกี่ยวกับโต๊ะหมู่บูชาเช่น
1. เทียนชนวน
2. กรวยครอบสำหรับดับเทียนชนวน
3. ไม้ขีดไฟ หรือไฟแช็ค
4. สำลีชุบน้ำมัน หรือยาหม่องใช้ทาปลายธูปเพื่อให้จุดติดได้ทันที
5. ผ้ารองกราบหน้าโต๊ะหมู่บูชาหรือหมอนรองกราบ หรือแท่นกราบ หรือพระแท่นทรงกราบสำหรับพระมหากษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์
6. พรมและอาสนะปูรองนั่งหน้าโต๊ะหมู่บูชาสำหรับประธานและพิธีกร
การจัดเครื่องบูชา
การจัดเครื่องบูชาจำนวนมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับโต๊ะที่ตั้ง ถ้าเป็นการจัดแบบประหยัด หรือถ้าไม่มีโต๊ะหมู่บูชา ใช้ตั่งหรือโต๊ะตัวเดียวตั้งแทนโต๊ะหมู่ ถ้าใช้วิธีนี้มีหลักสำคัญอยู่ว่าจะต้องหาผ้าขาวปูพื้นก่อน ถ้าหาผ้าขาวไม่ได้จำเป็นต้องใช้ผ้าสีต้องเป็นผ้าที่สะอาด และยังไม่ได้ใช้งานอย่างอื่นมาก่อน การใช้โต๊ะหรือตั่งแทนโต๊ะหมู่บูชานี้ควรหาตั่งหรือโต๊ะเล็ก ๆ อีกตัวหนึ่งวางซ้อนเพื่อเป็นที่ตั้งพระพุทธรูปด้วย การจัดแบบประหยัดมีเครื่องบูชาดังนี้
1. แจกันดอกไม้ 1 คู่ ตั้งไว้สองข้างของพระพุทธรูปในระยะพองาม
2. กระถางธูปกับเชิงเทียน 1 คู่ โดยตั้งกระถางธูปตรงหน้าพระพุทธรูป เชิงเทียนตั้งตรงกับแจกัน
วิธีการตั้งเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชา
การจัดวางเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่ ควรจัดวางเครื่องบูชาตามลำดับดังนี้
1. วางแจกัน
2. วางพานดอกไม้
3. วางเชิงเทียน
4. วางกระถางธูป
5. วางพระพุทธรูป
ข้อสังเกต คือ จะวางเครื่องบูชาที่โต๊ะตัวสูงที่สุดก่อน แล้ววางลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ยกเว้นพระพุทธรูปนำมาวางเป็นสิ่งสุดท้าย ทั้งนี้เพราะถือว่าพระพุทธรูปเป็นสิ่งสำคัญที่สุดบนโต๊ะหมู่บูชา เมื่อจัดวางทุกอย่างพร้อมแล้วจึงอัญเชิญขึ้นประดิษฐานเป็นประธาน เหตุผลอีกประการหนึ่งคือ หากตั้งพระพุทธรูปก่อน ขณะกำลังจัดวางเครื่องบูชาอื่น ๆ ก็จะเป็นการข้ามกรายพระพุทธรูปอันเป็นที่เคารพบูชาอย่างสูงจึงเป็นการไม่สมควร
ข้อสังเกตในการจัดวางเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชา
1. แจกัน วางอยู่ที่มุมข้างนอกด้านหลังของโต๊ะ ถ้าแจกันขนาดต่างกัน ให้แจกันขนาดเล็กอยู่บนโต๊ะตัวสูงที่สุด แจกันใหญ่อยู่บนโต๊ะที่สูงลดหลั่นกันลงมา
2. พานดอกไม้ วางไว้ตรงกลางของโต๊ะแต่ละตัว พานขนาดใหญ่ที่สุดวางไว้โต๊ะตัวกลาง พานคู่อื่นจัดขนาดเสมอกัน แต่ถ้าขนาดไม่เท่ากันให้ถือหลักขนาดเล็กอยู่บนโต๊ะตัวสูงที่สุด ขนาดใหญ่รองลงมาอยู่บนโต๊ะตัวที่สูงลดหลั่นกันลงมาตามลำดับ ถ้าเป็นพานพุ่มเงิน พานพุ่มทองให้วางพานพุ่มทองไว้ทางขวาพระหัตถ์ของพระพุทธรูป พานพุ่มเงินวางไว้ทางซ้ายพระหัตถ์ของ พระพุทธรูป
3. เชิงเทียน วางไว้มุมข้างนอกด้านหน้าของโต๊ะแต่ละตัว ยกเว้นเชิงเทียนคู่ที่อยู่กับกระถางธูป ให้วางเสมอกับกระถางธูป และวางใกล้กับกระถางธูปให้ดูพองาม สำหรับเชิงเทียนคู่ที่อยู่บนโต๊ะที่ตั้งพระพุทธรูปนั้น ถ้าตั้งอยู่ชิดพระพุทธรูปเกินไปเนื่องจากโต๊ะมีขนาดเล็ก หรือพระพุทธรูปมีขนาดใหญ่ จะตัดออกหรืองดไปเสียคู่หนึ่งก็ได้
4. กระถางธูป วางกระถางธูปไว้ตรงกลางโต๊ะตัวล่างสุดโดยบรรจุทราย หรือข้าวสารเพื่อให้ปักธูปได้ด้วย
5. พระพุทธรูป วางเป็นอันดับสุดท้ายหลังจากวางเครื่องประกอบอื่น ๆ แล้ว พระพุทธรูปนิยมใช้ปางมารวิชัย หรือปางชนะมาร นิยมกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ป้องกันภยันตราย เสนียดจัญไรทั้งหลาย รักษาคุ้มครองผู้สักการะบูชาให้มีความสุขความเจริญ บางครั้งในงานทำบุญเจ้าภาพอาจจะนำพระปางประจำวันเกิดของตนมาตั้งบูชาไว้ที่โต๊ะหมู่บูชาก็มี แต่มีข้อสังเกตประการหนึ่ง คือไม่นิยมใช้พระปางไสยาสน์ หรือปางปรินิพพานมาตั้งบนโต๊ะหมู่บูชาเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือ บนโต๊ะหมู่บูชาซึ่งใช้เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลนิยมประดิษฐานพระพุทธรูปเพียงองค์เดียวเท่านั้น (ส่วนในห้องพระตามอาคารบ้านเรือน อาจจะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจำนวนมากมายเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดในบ้าน)
6. ถ้าเป็นห้องประชุมสัมมนา โต๊ะหมู่บูชาต้องอยู่ด้านหน้าของห้องประชุม และมีธงชาติตั้งด้านขวา พระบรมฉายาลักษณ์ตั้งไว้ด้านซ้ายของโต๊ะหมู่บูชานั้นด้วย กรอบล่างของพระบรมฉายาลักษณ์ ไม่ควรสูงกว่าโต๊ะหมู่บูชาตัวที่ตั้งพระพุทธรูป และเสาธงชาติ ไม่ควรสูงมากนัก ทั้งนี้ควรให้เสาธงชาติและขาหยั่งที่ตั้งพระบรมฉายาลักษณ์เหมาะสมพองามกับโต๊ะหมู่บูชาด้วย
ความหมายของเครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชา
เครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชามี 3 อย่างคือ ธูป เทียน และดอกไม้ ใช้บูชาพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์พระพุทธรูป เป็นรูปเคารพแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระศาสดาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ธูป 3 ดอก ใช้บูชาคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 3 ประการคือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณหรือพระวิสุทธิคุณและพระมหากรุณาคุณ
เทียน สำหรับใช้บูชาพระธรรม
ดอกไม้ ใช้สำหรับบูชาคุณพระสงฆ์ นิยมใช้ดอกไม้ที่มีสีสวย กลิ่นหอม และยังกำลังสดอยู่ ที่นิยมมากได้แก่ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกกุหลาบ ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้ดอกกล้วยไม้เนื่องจากมีสีสวยและทนทานไม่เหี่ยวเฉาง่ายเหมือนดอกไม้บางชนิด การใช้ดอกไม้เพื่อบูชาคุณพระสงฆ์มีความหมายว่า พระสงฆ์เป็นผู้ทรงศีล กลิ่นของศีลเป็นกลิ่นที่หอมทวนลมได้ ดอกไม้เป็นสิ่งสวยงาม แต่ถ้านำมากองรวมกันย่อมไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ต่อเมื่อนำมาจัดใส่พานหรือแจกันก็จะเกิดความสวยงามและเป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น เปรียบเหมือนพระสงฆ์สาวกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบวชแล้วประพฤติปฏิบัติดี ปฏิบัติทางกายวาจางดงามด้วยศีลเสมอกัน เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยที่น่าเลื่อมใสศรัทธา น่ากราบไหว้
-โต๊ะหมู่ 5 มีเครื่องบูชาดังนี้
กระถางธูป 1
แจกัน 4
พาน 5
เชิงเทียน 6 จัดเต็มรูปแบบ 8
-โต๊ะหมู่ 7 มีเครื่องบูชาดังนี้
กระถางธูป 1
แจกัน 4
พาน 5
เชิงเทียน 6 จัดเต็มรูปแบบ 8
-โต๊ะหมู่ 9 มีเครื่องบูชาดังนี้
กระถางธูป 1
แจกัน 6
พาน 7
เชิงเทียน 10 จัดเต็มรูปแบบ 12
ความหมายของเครื่องประกอบบนโต๊ะหมู่บูชา
ระถางธูป 1 หมายถึง เอกัคคตา
แจกันดอกไม้ 4 หมายถึง อริยสัจ 4
แจกันดอกไม้ 6 หมายถึง อายตนะ 6
พานดอกไม้ 5 หมายถึง ขันธ์ 5
พานดอกไม้ 7 หมายถึง โพชฌงค์ 7
เชิงเทียน 6 หมายถึง อายตนะภายนอก 6
เชิงเทียน 8 หมายถึง อริยมรรคมีองค์ 8
เชิงเทียน 10 หมายถึง บารมี 10 (ทศบารมี)
เชิงเทียน 12 หมายถึง อายตนะ 12
ภาพการจัดโต๊ะหมู่บูชา
ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๕ จัดตามแบบกรมการศาสนา
ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๗ จัดตามแบบกรมการศาสนา
ภาพการจัดโต๊ะหมู่ ๙ จัดตามแบบกรมการศาสนา
การจัดโต๊ะหมู่บูชา ต้องมีพระพุทธรูปโดยจัดตั้งไว้ทางขวามือ ถือว่าแทนองค์พระศาสดา
พิธีกรงานมงคลและอวมงคล
การจัดเตรียมงาน
• จัดสถานที่ ต้อนรับแขก สถานที่สำหรับรองรับพระสงฆ์
• นิมนต์พระสงฆ์ ตามจำนวนที่ต้องการ ถ้างานมงคลนิยมพระจำนวนคี่ ( ๓ , ๕, ๗, ๙, แต่ถ้าเป็นงานอวมงคล นิยมนิมนต์พระจำนวนคู่ (๔, ๘, ๑๐)
• ตั้งโต๊ะหมู่บูชา พร้อมเครื่องสักการะ นิยมตั้งโต๊ะหมู่บุชาไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์
• พานด้ายสายสิญจน์ ๒ พาน (ตั้งที่พระสงฆ์รูปแรกและรูปสุดท้าย)
• เครื่องดื่ม อาหาร ไทยธรรม
• สำรับบูชาพระพุทธเจ้า
• สำรับบูชาพระภูมิเจ้าที่
• ซองปัจจัย หรือซองใบปวารณา
• ทีกรวดน้ำ
• กำหญ้าค้าพรมน้ำมนต์
การดำเนินงานเมื่อถึงกำหนดเวลา
• ประธานในพิธี (เจ้าภาพ) จุดเทียนและธูป บูชาพระรัตนตรัยแล้วกราบ ๓ ครั้ง
• พิธีกรนำไหว้พระและรับศีล
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ
อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา,
พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเมมิ (กราบ)
ส๎วากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ, ติสะระเณนะ สะหะ, ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
o พระสงฆ์ให้ศีล
o กล่าวสมาทานศีลตามพระสงฆ์ ดังนี้- ตั้งนะโม ๓ จบ
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ)
- กล่าวตามพระสงฆ์ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ .......,
ตะติยัมปิ .......
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ .
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
กาเมสุ มิฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ.
พระสงฆ์สรุปศีล อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพุติง ยันติ สัสมา สีลัง วิโสธะเย.
(น้อมศรีษะลงเพื่อรับสรุปศีล)
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลัง.
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลัง.
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พ๎รูถะ มังคะลัง.
พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พนมมือฟังพระสงฆ์ จุดเทียนน้ำมนต์เมื่อพระสงฆ์สวดถึงบท อะเสวะนา แล้วยกบาตร(ขัน)น้ำมนต์ประเคนพระสงฆ์
คำถวายข้าวพระพุทธและถวายทาน
คำกล่าวถวายข้าวพระพุทธ(บูชาคุณของพระพุทธเจ้า)
- ตั้ง นะโม ๓ จบ ก่อน
อิมัง สูปะพะยัญชนะสัมปันนัง สาลีนัง โอทะนัง อุทะกัง
วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิ (ปูเชมะ)
- คำถวายข้าพระสงฆ์
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ
อัมหากัง ทีฆะระตัง หิตายะ สุขายะฯ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกขุสงฆ์จงรับ ภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ
คำถวายทาน (เพื่ออุทิศผู้ตาย)
อิมนิ มะยัง ภันเต มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโนชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ มะตะกะภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทียัญจะ ญาตะกานัง กาละกะตัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ฯ
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายมะตะกะภัตตาหาร พร้อมกับของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ มะตะกะภัตตาหาร พร้อมกับของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติทั้งหลาย ผู้ล่วงลับไปแล้ว มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย (ในกรณีที่มารดาบิดาของผู้ถวายสิ้นชีวิตแล้ว) ตลอดกาลนาน เทอญ ฯ
- ประเคนภัตตาหารแด่พระสงฆ์
- พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม
- กรวดน้ำ รับพร
- คำกรวดน้ำ อิทัง โน ญาตีนัง โหนตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
(ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าทั้งหลายจงมีความสุข)
- คำลาข้าวพระพุทธ (กล่าวสุดท้ายหลังพระฉันภัตตาหารเสร็จ)
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ ฯ (ข้าพเจ้าทูลขอสิ่งที่เหลืออันเป็นมงคล)
- อาราธนาพระธรรม (ใช้ในกรณีจะมีพระแสดงพระธรรมเทศนา)
คำอาราธนาธรรม
พ๎รัห๎มา จะ โลกาธิปะติ สะหัมปะติ,
กัตอัญชะลี อันธิวะรัง อะยาจะถะ,
สันตีธะ สัตตาปปะระชักขะชาติกา,
เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง ปะชัง ฯ
(เสร็จพิธี)
หน่วยที่ ๕ จิตภาวนา
การปฏิบัติธรรม (เบื้องต้น)
การปฏิบัติธรรม คือ การเดินตามหรือปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามได้บรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน
ธุระในพระพุทธศาสนา
ธุระในพระพุทธศาสนา มี ๒ อย่าง
๑. คันถธุระ หมายถึง การศึกษาเล่าเรียนให้รู้เรื่องพระศาสนาและหลักศีลธรรม
๒. วิปัสสนาธุระ หมายถึง ธุระหรืองานอย่างสูงในพระศาสนา ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้ปฏิบัติตามได้รู้จักดับทุกข์หรือเปลื้องทุกข์ออกจากตน จะมากหรือน้อยตามควรแก่การปฏิบัติ แนวทางในการปฏิบัติมี ๒ ทาง
- การปฏิบัติตามแนวทางที่จะทำให้จิตใจสงบหรืออุบายที่จะทำจิตสงบ โดยอาศัยอารมณ์กัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๔๐ อย่าง (กสิน ๑๐, อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ พรหมวิหาร ๔ , อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ , จตุธาตุวัฏฐาน ๑, อรูปธรรม ๔) ให้เป็นที่ยึดเกาะหรือหยุดนิ่งจนทำให้เกิดอารมณ์เพียงอย่างเดียว เรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติ คือ ฌาน
- การปฏิบัติธรรมโดยการพิจารณาเห็นแจ้ง เป็นอุบายให้เรืองปัญญา คือ เข้าใจตามความเป็นจริง เห็นแจ้งในรูปนาม ไตรลักษณ์ และมรรค ผล นิพพาน มองเห็นว่าอะไรคือเหตุ อะไรคือผล ที่ทำให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จนทำให้จิตใจหลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่น แล้วปล่อยวาง จนบรรลุพระนิพพานในที่สุด เรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน ผลที่ได้จากการปฏิบัติ คือ ญาณ
องค์ธรรมสำหรับผู้ปฏิบัติ
ผู้ปฏิบัติธรรมจะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยองค์ธรรม ๔ ประการ
๑. อาตาปี มีความเพียรที่จะทำการนั้นๆ เช่นเพียรที่จะเผากิเลส
๒. สัมปชาโน มีความรู้ตัวอยู่ในทุกขณะ ไม่ว่าจะ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
๓. สติ มีสติคอยกำกับหรือกำหนดอยู่เสมอ
๔. อภิชฌา โทมนัสสัง ต้องละเสียได้ซึ่งความโลภ ความโกรธ ความหลง
การปฏิบัติธรรมตามแนวมหาสติปัฏฐาน
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ว่า
“เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา, โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ, ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ, ญายัสสะ อธิคะมายะ, นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ, ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานะ.”
ดูกรภิกษุทั้งหลาย (รวมถึงบุคคลทั่วไปด้วย) หนทางนี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ล่วงพ้นความโศกและความรำพันคร่ำครวญได้ ดับความทุกข์และโทมนัสได้ บรรลุอริยมรรค และเห็นแจ้งพระนิพพานได้ หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ
องค์ประกอบของมหาสติปัฏฐาน ๔
๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือการพิจารณากายเราโดยวิธีการต่างๆ
๑. อานาปานสติ คือ การเอาสติไปกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
๒. อิริยาบถ คือ การเอาสติไปกำหนดรู้อิริยาบถต่าง เช่น ยื่น เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด
๓. สัมปชัญญะ คือ การเอาสติไปกำหนดพิจารณาสิ่งของในร่างกายเราว่าเป็นของไม่สะอาดเป็นอารมณ์
๔. ธาตุ คือ การเอาสติไปกำหนดพิจารณา ธาตุหรือส่วนประกอบที่ทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาเป็นตัวคน คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ และ วิญญาณธาตุ ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง
๕. นวสีวถิกา คือ การเอาสติไปพิจารณาเปรียบเทียบกับซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อทำให้เข้าใจ คายความยึดมั่นถือมั่น จนเข้าถึงพระนิพพาน
๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาอาการสุข ทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้นในร่างกายเราเป็นอารมณ์
๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณกำหนดรู้เท่าทันจิตที่มีกิเลสและไม่มีกิเลสครอบงำ
๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณากำหนดรู้สภาวธรรมที่เกิดขึ้น เช่นนิวรณ์ธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่ขวางกั้นจิตของผูปฏิบัติธรรมไม่ให้บรรลุความดีงาม คือ
๑. กามฉันทะ ความพอใจในกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การถูกต้องสัมผัส ขณะดีใจ ให้กำหนดว่า ดีใจหนอๆๆๆ พอใจขึ้น ให้กำหนดว่า พอใจหนอๆๆ เป็นต้น
๒. พยาบาท เมื่อความพยาบาทนิวรณ์เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติธรรม เช่น ถ้าเกิดความรู้สึกไม่ยินดี หรือ เสียใจ ให้กำหนดว่า เสียใจหนอๆๆๆ หรือ ไม่พอใจ โกรธ เกลียด เป็นต้น ให้กำหนดทันอาการหรืออารมณ์นั้นๆ
๓. ถินมิทธะ ความที่จิต หรือเจตสิกท้อถอยจากอารมณ์กรรมฐานที่ผู้ปฏิบัติกำลังกำหนดอยู่ จนทำให้เกิดอาการง่วงเหงา ก็ให้กำหนดว่า ง่วงหนอๆๆๆ เป็นต้น
๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ เกิดความคิดฟุ้งซ่านและรำคาญใจใน ขณะปฏิบัติธรรม ก็ให้กำหนดให้รู้เท่าทันอาการนั้นๆ ฟุ้งซ่านหนอๆ เป็นต้น
๕. วิจิกิจฉา เกิดความลังเลสงสัย หรือ วิตกกังวล ขณะสงสัย กำหนดว่า สงสัย หนอๆๆ วิตกหนอๆๆ กังวลหนอๆๆ อย่างนี้เป็นต้น
จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติมหาสติปัฏฐาน ๔
๑. เพื่อความหมดจดแห่งสัตวทั้งหลาย
๒. เพื่อข้ามความโศกและความคร่ำครวญทั้งหลาย
๓. เพื่อระงับทุกข์และโทมนัสทั้งหลาย
๔. เพื่อการบรรลุญายธรรม คือธรรมที่ควรบรรลุ
๕. เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
วิธีสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๑ .อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เตรียมกายและจิตให้พร้อม
๒. เตรียมดอกไม้ธูปเทียน (ถ้ามี) เพื่อขอสมาทานศีลและขึ้นพระกรรมฐาน
๓. แต่กายสุภาพ (ชุดขาว) สำรวมกิริยาท่าทาง ไม่ควรพูดคุยกัน
๔. เมื่อถึงที่ขึ้นกรรมฐาน กราบพระรัตนตรัยด้วยเบญจางค์ประดิษฐ์ ๓ ครั้ง จากนั้น กราบ อาจารย์อีก ๓ ครั้ง ประเคนพานดอกไม้ ธูปเทียนแล้วกล่าวคำสมาทานศีล ๘ ดังนี้..........
๕. มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ,
ตะติยัมปิ มะยั ภันเต, ติสะระเณนะ สะหะ, อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ.
๖. พระอาจารย์กล่าว นะโม ตัสสะฯ ๓ จบ จากนั้นให้กล่าวตาม ๓ จบ
๗. พระวิปัสสนาจารย์กล่าว ไตรสรณคม ให้กล่าวตามว่า
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
พระอาจารย์จะกล่าวว่า “ติสะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง” ให้กล่าวรับว่”อามะ ภนเต”
พระอาจารย์จะกล่าว สิกขาบท ๘ ข้อให้กล่าวตามเป็นข้อ ๆ ดังนี้
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๒. อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๓. อะพรัหมจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนะ มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ มัณฑะณะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
๘. อุจจะสะยะนะ มะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
พระอาจารย์กล่าว “อิมานิ อัฏฐะสิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ” (กล่าวตาม ๓ ครั้ง)
คำกล่าวมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย
“อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ”
ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และสงฆ์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
คำกล่าวถวายตัวเป็นศิษย์ต่อพระวิปัสสนาจารย์
“อิมาหัง อาจะริยะ อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิ”
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าขอมอบกายถวายตัว ต่อท่าน อาจารย์ เพื่อเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
คำกล่าวขอพระกรรมฐาน
“นิพพานัสสะ เม ภันเต สัจฉิกะระณัตถายะ กัมมัฏฐานัง เทหิ”
ข้าแต่ท่าอาจารย์ผู้เจริญ ขอท่านจงให้ซึ่งวิปัสสนากรรมฐานแก่ข้าพเจ้าเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งมรรค ผล นิพพาน ต่อไป
การตั้งความปรารถนา
“อิมายะ ธัมมานุธัมมะปะฏิปัตติยา รัตตะนะตะยัง ปูเชมิ”
ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติธรรมตามสมควร แก่ธรรมนี้และด้วยสัจจะวาจาที่ได้กล่าวอ้างมานี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเพียรในการกำหนดอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถบรรลุผลสมปรารถนาในเวลาอันไม่ช้าด้วย เทอญฯ
คำศัพท์ที่น่ารู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม
๑. วิปัสสนา มาจากคำว่า วิ -ปัสสนา
วิ แปลว่า วิเศษ แจ้ง ต่าง
ปัสสนา แปลว่า เห็น (ปัญญา)
กล่าวโดยร่วมมีความหมายดังนี้
๑. ปัญญาเห็นแจ้ง เห็นชัด รูป-นาม อริยสัจจ์
๒. ปัญญาเห็นโดยอาการต่างๆ มีเห็นความไม่เที่ยง ความทนอยู่ไม่ได้ และความไม่มีตัวตนของสังขาร (ร่างกาย)
๓. ปัญญาเห็นแปลกประหลาด อัศจรรย์ในสิ่งที่ได้เห็นในขณะปฏิบัติ
๒. กรรมฐาน (กัมมัฏฐาน) มาจากคำว่า กรรม- ฐาน
กรรม คือการกระทำ โดยมุ่งหมายเอาการบำเพ็ญเพียรทางจิตใจ เพื่อฝึกฝน อบรมขัดเขลา กำจัดกิเลส อันเป็นสาเหตุหลักของความทุกข์ทั้งหลาย
ฐาน คือ ที่ตั้ง โดยมุ่งหมายเอาอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบท ๑๒ และ อริยสัจจ์ ๔ เพื่อเป็นฐานหรือที่ตั้งในการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน
๓. หนอ คำว่า หนอ ที่ท้ายคำบริกรรมต่างๆในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
- เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานเมื่อพราหมณ์โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ว่า อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ
- หนอ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีว่า วะตะ มีวิเคราะห์ศัพท์ว่า
วัฏฏะสังสาเร ทุกขัง ตาเรตีติ วะโต (วะตะ) แปลว่า สภาวธรรมที่ทำให้ผู้บริกรรมข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะสงสาร ชื่อ วะตะ (หนอ)
- หนอ เป็นคำที่ช่วยเพิ่มกำลังให้แก่ขณิกสมาธิ
- หนอ เป็นคำที่ทำให้คำบริกรรมสละสลวย เช่น พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้น
๔. กำหนด หมายถึง การเอาสติเข้าไปกำหนดจดจอเฝ้าดูสภาวธรรมอันปรากฎขึ้นตามความเป็นจริง ด้วยความเพียร มีสติ มีสมาธิ และมีปัญญา โดยไม่เอาความคิดของตนเองเข้าไปปรุงแต่ง เพ่ง-จ้อง หรือเพิ่มเติมสิ่งใดๆลงไปในทุกๆขณะที่มีกำหนด
๕. พอง-ยุบ คือ อาการพอง-ยุบของท้อง เป็น คำที่ใช้บริกรรม โดยเพิ่มคำว่า หนอ เข้าตอนท้ายคำ มีปรากฏในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ ว่า โส สโต ว อัสสะสะติ ปัสสะสะติ.
การยืนกำหนด
หลักการ มีสติกำหนดให้รู้ว่าขณะนี้เรากำลังทำอะไร ตามพระบาลีว่า ฐิโต วา ฐิโตมหีติ ปะชานามิ. ยืนอยู่ก็กำหนดรู้ว่า เรายืนอยู่
การปฏิบัติ
- ยืนตัวตั้งตรง คอตรง มือไขว้กันไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้
- ลืมตาเพียงครึ่งเดียว ทอดสายตาไปข้างหน้าประมาณ ๔ ศอก
- สติระลึกรู้อาการที่ร่างกายตั้งตรงกำหนดว่า “ยืนหนอๆ” ๓ ครั้ง
- บริกรรม “ยืนหนอ” ในใจ ต้องรู้ตัวว่าตนเองยืนอยู่จริงๆ
- จิตแนบแน่นกับความรู้สึกถึงอาการตั้งตรงของร่างกาย ควบคู่กับคำบริกรรม
การเดินจงกรม
การเดินจงกรม หมายถึง การเดินไปแล้วเดินกลับอย่างมีสติ เพื่อปรับแต่งอิริยาบถ และอินทรีย์ให้มีความเสมอกัน
การเดินจงกรมต้องมีสติกำหนดทุกขณะ ตามพระบาลีว่า “คัจฉันโต วา คัจฉามีติ ปะชานาติ เดินอยู่ก็กำหนดรู้ว่า เรากำลังเดิน”
การปฏิบัติ
- ยืนตรง ทอดสายตาไปประมาณ ๔ ศอก
- จิตจดจ่ออยู่ที่อาการเคลื่อนไหวของเท้าสติกำหนดรู้
- คำบริกรรมในใจกับอาการเคลื่อนไหวต้องไปพร้อมกัน
- ขณะเดิน มีสภาวธรรมอื่นที่ปรากฏชัดเจนมากกว่าแทรกเข้ามา ควรหยุดกำหนดอาการเดินชั่วคราว จากนั้นตั้งใจกำหนดอารมณ์ที่แทรกเข้ามานั้น จนกระทั่งดับไป เสื่อมไป หรือไม่ชัดเจนแล้วจึงค่อยกลับมากำหนดอาการเดินต่อไป
- เดินช้าๆ แต่อย่าบังคับมาก จิตใจจดจ่อ มีสติกำหนดรู้อย่างต่อเนื่อง
การกลับตัว
การกลับตัว หมายถึงการกลับตัว เมื่อเดินไปถึงระยะที่กำหนดไว้ นิยมกลับตัวทางขวามือ ทำเป็น ๓ คู่ หรือ ๖ คู่ ดังนี้
- กำหนดต้นจิตก่อน บริกรรมว่า ยืนหนอ ๓ ครั้ง
- บริกรรมว่า อยากกลับหนอ ๓ ครั้ง
- บริกรรม พร้อมหมุนตัวกลับว่า กลับหนอ ๓ คู่
ระยะการเดินจงกรม
ระยะการเดินจงกรมมี ๖ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ ขวาย่างหนอ, ซ้ายย่างหนอ
ระยะที่ ๒ ยกหนอ, เหยียบหนอ
ระยะที่ ๓ ยกหนอ , ย่างหนอ, เหยียบหนอ
ระยะที่ ๔ ยกส้นหนอ, ยกหนอ, ย่างหนอ, เหยียบหนอ
ระยะที่ ๕ ยกส้นหนอ, ยกหนอ , ย่างหนอ, ลงหนอ, ถูกหนอ
ระยะที่ ๖ ยกส้นหนอ, ยกหนอ , ย่างหนอ, ลงหนอ, ถูหนอ, กดหนอ
(ดูภาพประกอบด้านหลัง)
หมายเหตุ การเดินจงกรม ให้เลือกเดินในท่า หรือระยะที่ตัวเองถนัดและสามารถกำหนดคำบริกรรมกับการเดินแต่ละระยะได้สอดคล้องกัน ไม่จำเป็นต้องเดินทุกระยะ
การนั่งสมาธิ
การสมาธิ หมายถึงผู้ปฏิบัติจะเลือกนั่งสมาธิในท่าใดก็ได้ตามความถนัดของตัวเอง จะเป็น แบบ ขาไม่ทับกัน แบบขาทับกัน หรือแบบขัดสมาธิเพชร
การปฏิบัติ
- เท้าขวาทับเท้าซ้าย
- ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติมั่นคง
- มือขวาทับมือซ้าย
- หัวแม่มือชิดกัน นั่งในท่าที่ผ่อนคลาย
- หลับตาพอประมาณ เบาๆ ใบหน้ายิ้มแย้ม เหมือนกับยิ้มให้กับตนเอง
- กำหนดรู้อาการเคลื่อนไหวของท้อง (กาย) กับใจที่รู้อาการในขณะท้องพอง-ยุบ ตามความเป็นจริง
- มีสติรู้เท่าทันอารมณ์หรือสภาวธรรมที่ปรากฏขึ้น และให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้น
- เมื่อจิตส่งไปข้างนอก ให้พยายามกำหนดรู้ให้ทันแล้วจิตกลับมาอยู่กับปัจจุบันให้ได้
- สำหรับผู้ปฏิบัติที่กำหนดอาการพองยุบได้ยากหรือไม่ชัดเจน ให้กำหนดอาการว่า นั่งหนอ ถูกหนอ
การนอนกำหนด
การนอนกำหนดนั้น ก็เช่นกับวิธีการปฏิบัติอย่างอื่น คือ ต้องมีสติ กำหนดเสมอ ตามพระบาลีว่า “สะยาโน วา สะยาโนมหีติ ปะชานามิ ความว่า นอนอยู่ก็กำหนดรู้ว่า เรานอนอยู่”
การแผ่เมตตาให้กับตนเอง (หลังปฏิบัติธรรม)
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีควมสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวรภัย
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากการเบียดเบียน
อะหัง อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์กายทุกใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนอยู่เถิด
การแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิน
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์ ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้ามีความสุข ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เกิดเป็นสังเสทะชะ , ที่เกิดเป็นอัณทชะ, ที่เกิดเป็นชลาพุชะ, ที่เกิดเป็นโอปะปาติกะ จงมารับเอาส่วนบุญส่วนกุศล ทุกถ้วนทั่วทุกตัวสัตว์เทอญ ฯ
อานิสงส์การเดินจงกรม
๑. ทนต่อการทำความเพียร
๒. ทนต่อการเดินทางไกล
๓. มีอาพาธน้อย
๔. อาหารย่อยงาย
๕. สมาธิที่ได้ในการขณะเดินจงกรมดำรงอยู่ได้นาน (เสื่อมยาก)
คำสมาทานวิปัสสนากรรมฐาน
อะหัง วิปัสสะนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ. ทุติยัมปิ อะหัง วิปัสสะนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ. ตะติยัมปิ อะหัง วิปัสสะนากัมมัฏฐานัง สะมาทิยามิ. สัพพะทุกยะ, นิสสะระณะนิพพานะ, สัจฉิกะระณัตถายะ.
ข้าพเจ้าของสมาทานวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้งอันเป็นที่สิ้นไปแห่งกองทุกข์ทั้งปวง
คำสมาทานอานาปานสติกรรมฐาน
อะหัง ภันเต ภะคะวา สังสาระทุกขะโต โมจะนัตถายะ พุทธานุสสะติ อานาปานะสติกัมมัฏฐานัง ยาจามิ.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เจริญ ข้าพเจ้า ขอระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าด้วยการกำหนดลมหายเข้าออกเป็นอารมณ์ เพื่อให้พ้นจากทุกข์ในวัฏฏสังสาร ถึงซึ่งพระนิพพาน ณ กาลบัดนี้ เทอญ ฯ
ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ
๑. ถ้าเป็นนักเรียน นักศึกษา ก็สามารถเรียนหนังสือได้ผลดีเพิ่มขึ้น
๒. ได้คะแนนสูงขึ้นเพราะมีจิตใจสงบ
๓. ทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น ไม่ค่อยผิดพลาด เพราะมีสติสมบูรณ์ขึ้น
๔. สามารถทำงานได้มากขึ้น และได้ผลดีมีประสิทธิภาพ
๕. ทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายไปได้
๖. ทำให้เป็นคนมีอารมณ์เยือกเย็น มีความสุขใจได้มาก ผิวพรรณผ่องใส มีจิตใจเบิกบาน
๗. ทำให้อยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
๘. สามารถเผชิญต่อเหตาการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเฉพะหน้าอย่างใจเย็น
๙. สามารถแก้ไขความยุ่งยากวุ่นวายในชีวิตด้วยวิธีที่ถูกต้อง
๑๐. สามารถกำจัดนิวรณ์ที่รบกวนจิตใจลงได้ หรือทำให้เบาบางลง
๑๑. ถ้าทำได้ถึงขั้นสูง ก็จะได้รับความสุขอันเลิศยิ่ง
๑๒. สามารถได้อำนาจจิตพิเศษ เช่นรู้ใจคนอื่นเป็นต้น
๑๓. ทำให้เป็นพื้นฐานโดยตรงในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ประโยชน์ของการฝึกบำเพ็ญวิปัสสนา
๑. สามารถกำจัดกิเลสต่างๆ อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ หรือทำให้เบาบางลง
๒. มีความทุกข์น้อยลง และมีความสุขมากขึ้น
๓. มีจิตใจมั่นคง รู้เท่าทันความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายไม่ฟูขึ้นหรือยุบลงด้วยอำนาจโลกธรรม
๔. คลายความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงลงได้ ไม่วุ่นวายเดือดร้อน
๕. มีความเห็นแก่ตัวน้อยลง และบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นมากขึ้น
๖. จิตใจมีคุณธรรม หรือมีคุณภาพสูงขึ้นตามขั้นของการปฏิบัติ
อานิสงส์ของการแผ่เมตตา
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน เมตตานิสังสสูตรว่า ผู้ที่เจริญเมตตาอยู่เป็นนิจจะได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
๑. จะหลับอยู่ก็เป็นสุข
๒. จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข
๓. จะไม่ฝันร้ายและลามก
๔. เป็นที่รักใคร่ของหมู่มนุษย์
๕. เป็นที่รักใคร่ของมนุษย์ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานทั้งหลาย
๖. ย่อมล่วงพ้นจากไฟ ยาพิษ ศัตราวุธและภยันตรายทั้งปวง
๗. เทวดาย่อมคุ้มครองรักษา
๘. ทำให้จิตตั้งมั่น เจริญสมาธิได้รวดเร็ว
๙. หน้าตาอิ่มเอิบ จิตใจเบิกบาน ผิวพรรณผ่องใส
๑๐. ทำให้มีสติมั่นคงไม่หลงใหลในเวลาจะสิ้นใจ
๑๑. เมื่อสิ้นชีวิตแล้วแม้จะเกิดอีกก็เกิดในที่ดี มีสวรรค์หรือพรหมโลก เป็นต้น
ข้อที่โยคีควรปฏิบัติ
๑. ผูกจิตไว้ในสติปัฏฐาน ๔
๒. สำรวมอินทรีย์ ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๓. กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย แต่ปฏิบัติให้มาก
ข้อที่โยคีควรยกเว้น
๑. เขียนหนังสือ อ่านหนังสือ
๒. เห็นแก่นอน ทำความเพียรน้อย ควรนอนวันละ ๔ ชั่วโมงเป็นอย่างมาก
๓. มัวแต่คุย หาเพื่อนพูดเพื่อนคุย ไม่ตั้งใจกำหนด
๔. ชอบคลุกคลีกับหมู่ ไม่ชอบอยู่ตามลำพัง
๕. ไม่รู้ประมาณในการบริโภค (อีก ๕ คำจะอิ่มให้หยุด)
๖. จิตจับในอารมณ์ใด ไม่กำหนดจิตในอารมณ์นั้น
๗. จิตหลุดไปในอาการใด ไม่กำหนดรู้ในอาการนั้น
ความกังวล
เมื่อตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนาและ ผู้ปฏิบัติจะต้องตัดสินใจ ตัดความกังวลที่มีอยู่ให้หมดไป คือ (เอาสิ่งไม่ดีออกจากใจ แล้วใจจะสะอาด)
๑. ห่วงที่อยู่ ๒. ห่วงสกุล
๓. ห่วงลาภ ๔. ห่วงหมู่คณะ
๕. ห่วงการงาน ๖. ห่วงการเดินทาง
๗. ห่วงญาติ ๘. ห่วงการเจ็บป่วย
๙. ห่วงการศึกษา ๑๐. ห่วงอำนาจ
คำลากรรมฐาน
อาปุจฉามิ ภันเต, วิปัสสะนา, กัมมัฏฐานัง เทหิ.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ, ข้าพเจ้าขอลาพักไว้ ซึ่งการปฏบัติวิปัสสนากรรมฐาน ลงไว้แตเพียงเท่านี้ ถ้าข้าพเจ้ามีโอกาส จักได้ประพฤติ ปฏิบัติใหม่ ตามโอกาสอันสมควรต่อไป
หมวดที่ ๖ การทดสอบและประเมินผล
จุดมุ่งหมายการทดสอบและประเมินผล
จุดมุ่งหมายเพื่อให้พระบวชใหม่ได้ประเมินผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับหลังจากลาสิกขาไป แล้วว่า มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนามากน้อยเพียงไร และจะนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างไร ไม่ได้เน้นว่าได้คะแนนมากหรือน้อย เน้นตรงที่ว่า เรารู้และได้รับความรู้อะไรหรือไม่
รูปแบบการทดสอบและการประเมินผล
มี ๓ หมวด
หมวด ก. ทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ๕๐ ข้อ (๑๐๐ คะแนน)
หมวด ข. สอบสัมภาษณ์ (ให้ท่องคำอาราธนาต่างๆให้ได้อย่าง ๓ อย่าง) ( ๓๐๐ คะแนน)
หมวด ค.ให้เลือกศึกษาพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรม) เล่มใดเล่มหนึ่ง แล้วบันทึกผลที่ได้รับจากการศึกษาเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (๑๐๐ คะแนน)
-------------------------------------------------------------
หมวด ก. ทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ๕๐ ข้อ (๑๐๐ คะแนน)
คำสั่ง ให้ทำเครื่องหมายถูกหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
๑. พระพุทธศาสนาเกิดในทวีปใด?
ก. ชมพูทวีป
ข. ทวีปเอเชีย
ค. ทวีปยุโรป
ง. ข้อ ก และ ข ถูกต้อง
๒. ในศีลทั้ง ๕ ข้อ ข้อใดที่ล่วงแล้วสามารถทำผิดข้ออื่นได้อีก ?
ก.ข้อที่ ๕
ข.ข้อที่ ๔
ค.ข้อที่ ๓
ง.ข้อที่ ๒
๓. ศีล ๕ และธรรม ๕ มีความสำคัญอย่างไร ?
ก.ช่วยสงวนพันธุ์สัตว์
ข.ช่วยลดคดีหมิ่นประมาท
ค.ทำให้การเบียดเบียนกันลดลง
ง.ทำให้เศรษฐกิจมีความมั่นคงขึ้น
๔. ประเทศไทยเป็นเมืองพระพุทธศาสนา เหตุไฉนข่าวการละเมิดศีลข้อที่ ๓ จึงมีอยู่มาก ?
ก.มีการเรียนรู้ แต่ไม่นำมาปฏิบัติ
ข.กระแสวัตถุนิยมรุนแรง
ค.ไม่มีการยกย่องคนดีให้ปรากฏ
ง.ถูกทุกข้อ
๕. นิทานอีสป เรื่องเด็กเลี้ยงแกะ เป็นอาการของผู้ทำผิดในลักษณะใด ?
ก.มุสา
ข.เสริมความ
ค.สัปปลับ
ง.อำความ
๖. พระสงฆ์เทศน์เกี่ยวกับสัตว์พูดได้ ถือว่าขาดศีลข้อที่ ๔ หรือไม่ ?
ก.ขาดศีล เพราะสัตว์พูดไม่ได้
ข.ไม่ขาดศีล เพราะใคร ๆ ก็รู้ว่าสัตว์พูดไม่ได้
ค.ไม่ขาดศีล เพราะเป็นโวหารของผู้เทศน์
ง.ไม่ขาดศีล เพราะเป็นนิทานชาดกในคัมภีร์
๗. คำว่า “ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา ” กล่าวถึงอะไร ?
ก.อาราธนาศีล
ข.อานิสงส์ศีล
ค.สมาทานศีล
ง.นิจศีล
๘. วันเทโวโรหณะคือวันอะไร?
ก.วันพระเจ้าเปิดโลก
ข.วันแสดงปฐมเทศนา
ค.วันประสูติ
ง.วันปรินิพพาน
๙. วันสำคัญทางพระพุทธศาสนามีกี่วัน?
ก.๓วัน
ข.๔วัน
ค.๕วัน
ง.๖วัน
๑๐. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบรรพชาใครนำบาตรและจีวรมาถวาย?
ก.สหัมบดีพรหม
ข.ท้าวสักกเทวราช
ค.ท้าวจาตุมหาราช
ง.ฆฏิการพรหม
๑๑. พุทธศักราช (พ.ศ.) เกิดขึ้นเมื่อใด
ก. ก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ
ข. ก่อนพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ค. หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ง. หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้
๑๒. การกรวดน้ำมุ่งประโยชน์อะไร?
ก.อุทิศส่วนบุญ
ข.แสดงความเคารพ
ค.ตั้งจิตอธิษฐาน
ง.เพื่อให้เทวดารับรู้
๑๓. อะไรเป็นสมุฏฐานให้คนประพฤติดี?
ก.โลภะโทสะโมหะ
ข.ราคะโทสะโมหะ
ค.อโลภะอโทสะอโมหะ
ง.ศีลสมาธิปัญญา
๑๔. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนาชื่อว่าอะไร?
ก.เชตวัน
ข.ลัฏฐิวัน
ค.ปุพพาราม
ง.เวฬุวัน
๑๕. เมื่อถูกคนอื่นนินทาควรปฏิบัติอย่างไร?
ก.ควรโต้ตอบ
ข.ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น
ค.หนีไปที่อื่นเสีย
ง.อย่ายินดียินร้าย
๑๖. กษัตริย์พระองค์ใดเป็นต้นศากยวงศ์?
ก.พระเจ้าโอกกากราช
ข.พระเจ้าอโศกมหาราช
ค.พระเจ้าชัยเสนะ
ง.พระเจ้าสีหหนุ
๑๗. ข้อใดไม่ใช่พิธีทำบุญงานมงคล?
ก.งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ข.งานบวช
ค.งานทำบุญอายุ
ง.งานทำบุญอัฐิ
๑๘. พระนางสิริมหามายาทิวงคตเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้กี่วัน?
ก.๓วัน
ข.๕วัน
ค.๗วัน
ง.๑๕วัน
๑๙. เหตุใดถูกเพื่อนชวนให้เสพยาบ้าจึงเสพตามเขา?
ก.อยากเสพ
ข.กลัวเพื่อนโกรธ
ค.หลงผิด
ง.รักษาน้ำใจ
๒๐. "สวดพระพุทธมนต์"ใช้สำหรับงานประเภทใด?
ก.งานมงคล
ข.งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
ค.งานอวมงคล
ง.งานทำบุญอายุ
๒๑. ก่อนปรินิพพานพระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งใครเป็นศาสดาแทน?
ก.พระมหากัสสปะ
ข.พระอานนท์
ค.พระอุบาลี
ง.พระธรรมวินัย
๒๒. บ้านเมืองไม่สะอาดขาดระเบียบข้อใดเป็นสาเหตุสำคัญ?
ก.ไม่รู้กฎหมาย
ข.ไม่รู้ข้อมูลข่าวสาร
ค.ไม่บำเพ็ญประโยชน์
ง.ประชาชนด้อยโอกาส
๒๓. การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์หมายถึงการกราบเช่นไร?
ก.กราบครบองค์๕
ข.กราบ๓ครั้ง
ค.กราบ๕ครั้ง
ง.ก และ ข ถูก
๒๔. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชา ณ สถานที่ใด?
ก.ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา
ข.ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
ค.ริ่มฝั่งแม่น้ำคงคา
ง.ริมฝั่งแม่น้ำสินธู
๒๕. พระรัตนตรัยเกิดขึ้นในโลกเมื่อไร?
ก.วันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๓
ข.วันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖
ค.วันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๘
ง.วันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๙
๒๖. พระพุทธเจ้าปรินิพพานที่เมืองไหน?
ก.เมืองปาวา
ข.เมืองพาราณสี
ค.เมืองกุสินารา
ง.เมืองสาวัตถี
๒๗. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ณ ที่ไหน?
ก.สวนเวฬุวัน
ข.สวนลุมพินีวัน
ค.สวนอัมพวัน
ง.ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน
๒๘. เมื่อความโกรธเกิดขึ้นควรทำอย่างไร?
ก.ปลงอนิจจัง
ข.ออกกำลังกาย
ค.แผ่เมตตา
ง.ด่าระบายอารมณ์
๒๘. วันมาฆบูชามีความหมายตรงข้อใด
ก. วันพระพุทธ
ข.วันพระธรรม
ค.วันพระสงฆ์
ง. วันถวายพระเพลิงสรีระของพระพุทธเจ้า
๒๙. พวกพลเรือนที่มีอาชีพทำนาค้าขายจัดอยู่ในวรรณะใด?
ก.กษัตริย์
ข.พราหมณ์
ค.แพศย์
ง.ศูทร
๓๐. กุศลมูล ๓ หมายถึงอะไร
ก.หลักธรรมของคนดี
ข.หลักธรรมสำหรับปรับปรุงคนชั่ว
ค.หลักธรรมอันเป็นต้นกำเนิดแห่งความดี
ง.หลักธรรมที่กล่าวถึงรากเหง้าแห่งความชั่ว
๓๑. พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อคนไทยอย่างไร
ก.ให้คนไทยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
ข.ให้คนไทยเป็นคนมีเหตุผล
ค.ทำให้สังคมสงบสุข
ง.ถูกทุกข้อ
๓๒. สาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ก่อนจะปรินิพพานคือใคร
ก. พระสารีบุตร
ข.พระสุภัททะปริพาชก
ค. พระยส
ง.พระมหากัจจายนะ
๓๓. คำว่า “ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ” ตรงกับข้อใด ?
ก. พระพุทธเจ้า
ข. พระธรรม
ค. พระสงฆ์
ง. พระสาวก
๓๔. เพื่อนที่คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จัดเข้าในมิตรเทียมข้อใด ?
ก. คนปอกลอก
ข. คนหัวประจบ
ค. คนดีแต่พูด
ง. คนชวนทำชั่ว
๓๕. สังฆทานควรตั้งใจถวายอย่างไร?
ก.ถวายเจาะจง
ข.ถวายไม่เจาะจง
ค.ถวายพระรัตนตรัย
ง.ถวายวัดที่ศรัทธา
๓๖. ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา คือ ?
ก. ดอกจันทน์
ข. ดอกพุทธรักษา
ค.ดอกมะลิ
ง. ดอกบัว
๓๗. อาบัติในข้อใดไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการปลงอาบัติ?
ก. ถุลลัจฉัย
ข. ทุกกฎ
ค. สังฆาทิเสส
ง. ปาจิตตีย์
๓๙. สงฆ์ในคำว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ ” หมายถึงใคร ?
ก. ภิกษุสงฆ์
ข. ภิกษุณีสงฆ์
ค. อริยสงฆ์
ง. สมมติสงฆ์
๔๐. การทอดกฐินคือการถวายผ้ากฐินหรือจีวรแด่พระภิกษุ จะมีการทอดถวายเวลาใด
ก. หลังออกพรรษา
ข.ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑
ค.วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒
ง.ถูกทุกข้อ
๔๑. การถวายผ้ากฐินแด่พระสงฆ์ทำได้ปีละกี่ครั้ง
ก. ปีละ ๑ ครั้ง
ข.ปีละ ๒ ครั้ง
ค.ปีละ ๓ ครั้ง
ง.ปีละ ๔ ครั้ง
๔๒. การทอดผ้าป่าถวายได้ ปีละกี่ครั้ง
ก.ปีละ ๑ ครั้ง
ข.ปีละ ๒ ครั้ง
ค.ปีละ ๓ ครั้ง
ง.ไม่จำกัดเวลา
๔๓. คำว่า “ วิปัตติปะฏิพาหายะ ...”เป็นคำอาราธนาอะไร
ก.คำอาราธนาพระปริตร
ข.คำอาราธนาพระธรรม
ค.คำอาราธนาศีล
ง.คำอาราธนาเทศน์
๔๔. คำว่า “ประเคน” คืออะไร
ก.การถวายสิ่งของแก่พระสงฆ์
ข.การนิมนต์พระสงฆ์แสดงธรรม
ค.การนิมนต์พระสงฆ์ให้ศีล
ง.การนิมนต์เจริญพระพุทธมนต์
๔๕. คำกล่าวแสดงตนเป็นพุทธมามกะว่าอย่างไร
ก.มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง
ข.เอสาหัง ภันเต
ค.วิปัตติปะฏิพาหายะ
ง. พรัหมา จะ โลกาธิปะติ
๔๖. วัดในพระพุทธศาสนา มีกี่ประเภท
ก. ๒ ประเภท
ข. ๓ ประเภท
ค. ๔ ประเภท
ง. ๕ ประเภท
๔๗. คำว่า “ อัตตา หิ อัตตะโน นาโถ” แปลว่าอย่างไร
ก. คนได้เกียรติด้วยสัจจะ
ข.ทำดีได้ดี
ค. ตนแลเป็นที่พึ่งของตน
ง. พูดอย่างไร พึงทำอย่างนั้น
๔๘. พระพุทธศาสนาสอนให้เชื่อเรื่องอะไร
ก. ไสยศาสตร์
ข. เทวดา
ค. ผี
ง. กรรม
๔๙. หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ในพระไตรปิฎกมีเท่าไร
ก. ๒๑,๐๐๐ ข้อ
ข. ๒๒,๐๐๐ ข้อ
ค. ๒๔,๐๐๐ ข้อ
ง. ๘๔,๐๐๐ ข้อ
๕๐. วันธรรมสวนะหรือวันพระในหนึ่งเดือนมีกี่ครั้ง
ก. ๒ ครั้ง
ข. ๓ ครั้ง
ค. ๔ ครั้ง
ง. ๕ ครั้ง
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ข. สอบสัมภาษณ์ (ให้ท่องคำอาราธนาต่างๆให้ได้อย่าง ๓ อย่าง) ( ๓๐๐ คะแนน)
๑ . คำอาราธนาศีล
๒. คำอาราธนาศีล
๓. คำอาราธนาพระปริตร
๔. คำอาราธนาธรรม
๕. คำถวายทาน
๖. คำถวายทานอุทิศ (ผู้ตาย)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ค. ให้เลือกศึกษาพระไตรปิฎก (พระสุตตันตปิฎก พระวินัยปิฎก และพระอภิธรรม) เล่มใดเล่มหนึ่ง แล้วบันทึกผลที่ได้รับจากการศึกษาเพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน (๑๐๐ คะแนน)
๑. พระไตรปิฎกชื่อ.....................................................................เล่มที่...............
๒. หน้าที่.............................
๓. บรรทัดที่..........................................................
๔. ผลที่ได้รับจากการศึกษา........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ประกาศ
รับรองผลสัมฤทธิ์การอุปสมบท
---------------------------
พระ...................................................ฉายา.................................................นามสกุล............................................................อายุ............................... ได้เข้ามาอุปสมในบวรพุทธศาสนา เป็นระยะเวลา...................วัน/เดือน/ปี เพื่อได้แทนคุณพ่อแม่ ได้ดูแลพระศาสนา ได้เรียนรู้วิชาชีวิต และได้ทำกิจของลูกผู้ชาย บัดนี้ได้ถึงกำหนดที่ตั้งใจไว้แล้ว และได้ศึกษาพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามกำหนด ครบถ้วนบริบูรณ์แล้ว ซึ่งมีผลประเมินดังนี้
หมวด ก. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ได้........................คะแนน
หมวด ข. สัมภาษณ์ ได้.......................คะแนน
หมวด ค. ศึกษาพระไตรปิฎก ได้........................คะแนน
อนุโมทนาในความอุตสาหะ และความตั้งใจที่ได้เข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ขอกุศลคุณงามความดี คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ได้รักษาคุ้มครอง และเจริญด้วยพรชัย ทั้ง ๔ ประการ คือ อายุ วัฒนะ สุขะ พละ ปฏิภาณธนสารสมบัติจงทุกประการ เทอญ
....................................................................................
(พระครูชัยสารสุนทร)
เจ้าคณะเขตดอนเมือง-หลักสี่ เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนารามและพระอุปัชฌาย์
..........................................................................
(พระกรรมวาจาจารย์ )
...............................................................................
(พระอนุสาวนาจารย์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
3 ความคิดเห็น:
ขออนุญาต คัดลอกไปพิมพ์แจกพระใหม่นะครับ ขอบคุณครับ
เกรียงศักดิ์ เพาะโภชน์
ขออนุญาต คัดลอกไปเพื่อศึกษา เตรียมตัวอุปสมบท
และเผยแพร่กับหมู่คณะต่อไป ขอบพระคุณครับ
ขออนุญาตคัดลองเพื่อศึกษานะคับ ขอบพระคุณครับ
แสดงความคิดเห็น